การจัดการธาตุอาหารพืชโดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพต่อการให้ผลผลิตถั่วเขียวผิวมัน
#1
การจัดการธาตุอาหารพืชโดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพต่อการให้ผลผลิตถั่วเขียวผิวมัน
ศิริลักษณ์ จิตรอักษร และจิราลักษณ์  ภูมิไธสง
กองวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท

          การจัดการธาตุอาหารพืชโดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพต่อการให้ผลผลิตถั่วเขียวผิวมัน ดำเนินการคัดเลือกเชื้อไรโซเบียมที่ตรึงไนโตรเจนได้สูงกับถั่วเขียวผิวมันพันธุ์ CNMB-06-03-60-7 ส่วนพันธุ์ชัยนาท 84-1 ใช้ไรโซเบียมเชื้อผสม DASA02002 DASA02020 DASA02042 DASA02166 และ DASA02193 และนำมาทดสอบการใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพชนิดอื่นและปุ๋ยเคมีอัตราต่างๆ ทั้งในสภาพกระถางทดลองในฤดูแล้ง และแปลงทดลองในฤดูฝนปี 2556 และทั้งฤดูแล้งและฝนปี 2557 ณ แปลงทดลองและขยายพันธุ์พืชดงเกณฑ์หลวง จังหวัดชัยนาท พบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตและใส่ 6 กิโลกรัม K2O ต่อไร่ให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ชัยนาท 84-1 สูงสุด 221 กิโลกรัมต่อไร่ซึ่งไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินอัตรา 15-3-3 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 0-9-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่พร้อมปลูก หรือการใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตและจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 1.5-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง พร้อมปลูกและเมื่อถั่วเขียวออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มให้ผลผลิตเมล็ดถั่วเขียวทั้ง 2 พันธุ์ ไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 9-3-3 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ เมื่อปลูกในฤดูแล้งและฤดูฝนปี 2557 ในฤดูแล้งพันธุ์ชัยนาท 84-1 ให้ผลผลิตเมล็ด 364 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินอัตรา 9-3-3 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ให้ผลผลิต 335 กิโลกรัมต่อไร่ และในฤดูฝนพันธุ์ CNMB-06-03-60-7 ให้ผลผลิตเมล็ด 254 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตเมล็ด 241 กิโลกรัมต่อไร่ แต่วิธีการจัดการธาตุอาหารพืชโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ทดสอบไม่มีผลทำให้คุณภาพเมล็ดของทั้ง 2 พันธุ์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความงอกและเปอร์เซ็นต์ความแข็งแรงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 


ไฟล์แนบ
.pdf   95_2557.pdf (ขนาด: 372.95 KB / ดาวน์โหลด: 2,143)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 6 ผู้เยี่ยมชม