วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
#1
วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
สมชาย บุญประดับ

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้ำฝน
สมชาย บุญประดับ, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, พนิต หมวกเพชร, พรทิพย์ แพงจันทร์, บงการ พันธุ์เพ็ง, สุจิตร ใจจิตร, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง และศรินณา ชูธรรมธัช
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8

          เกษตรกรในพื้นที่อาศัยน้ำฝนส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้เกษตรกรมักประสบปัญหารายได้ต่ำ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อให้ได้รูปแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้น้ำฝนในเขตต่างๆ ของประเทศไทย โดยยึดหลักเกษตรยั่งยืน และมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้ำฝน ในปี 2554 - 2558 ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย ผลการทดลองพบว่า ระบบการปลูกส้มเขียวหวานทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดพะเยา ให้รายได้สุทธิเฉลี่ยในปีที่ 4 ซึ่งส้มเขียวหวานเริ่มให้ผลผลิตเท่ากับ 1,836 บาท/ไร่ เปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดียว ให้รายได้สุทธิเฉลี่ย 3,316 บาท/ไร่ ระบบการปลูกมันฝรั่ง - พืชผัก ระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - มันเทศ ระบบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ถั่วเขียว และระบบการปลูกพืชที่มีไม้ผลเป็นหลัก เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดอนภาคเหนือตอนล่าง ระบบปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ถั่วเขียวเป็นระบบปลูกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ลาดชัน และระบบปลูกกาแฟอราบิก้าเหมาะสำหรับปลูกทดแทนกะหล่ำปลีในพื้นที่สูงเขตภาคเหนือตอนล่าง ระบบการปลูกระบบปลูกข้าว - ถั่วลิสงและระบบการปลูกข้าวมันสำปะหลัง ในจังหวัดขอนแก่น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว ร้อยละ 134 และ 251 ตามลำดับ แลระบบการปลูกข้าวถั่วลิสงในจังหวัดนครพนม ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว ร้อยละ 244 ในขณะเดียวกัน ระบบการปลูกข้าวมันเทศ และระบบปลูกข้าวข้าวโพดฝักสด ในพื้นที่นาดอนจังหวัดขอนแก่น ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว ร้อยละ 740 และ 229 ตามลำดับ ระบบการปลูกข้าว - มะเขือเทศเพื่อแก้ปัญหาโรครากปมมะเขือเทศในพื้นที่ดอนจังหวัดขอนแก่นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวร้อยละ 853 จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าว - ข้าวโพดฝักสด ร้อยละ 335 ระบบการปลูกข้าว – ข้าวโพดฝักสด และระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสงในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินตื้นเขตใช้น้ำฝนจังหวัดสุรินทร์ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 225 และ 161 ตามลำดับ ระบบการปลูกมันสำปะหลังสลับที่กับถั่วลิสงในพื้นที่ไร่เขตใช้น้ำฝนจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ผลผลิตเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์แปูงเฉลี่ยสูงกว่าปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียว โดยไม่พบการระบาดของโรครากปมมะเขือเทศ ระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสง ในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินลึกเขตใช้น้ำฝน และระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับการปลูกมะม่วงแก้ว หรือมะม่วงหิมพานต์บนคันนาเขตใช้น้ำฝนจังหวัดอุบลราชธานี ให้ผลตอบแทนสูงกว่าระบบการปลูกข้าวอย่างเดียว และระบบการปลูกถั่วลิสงแซมในพื้นที่ปลูกยางพาราจังหวัดอำนาจเจริญ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยและอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าการปลูกยางพาราอย่างเดียว ระบบการปลูกข้าวโพดฝักสดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองฝักสดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเขียวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นระบบปลูกพืชไร่เป็นหลักที่เหมาะสมในจังหวัดอุทัยธานี และระบบการปลูกข้าวถั่วเหลืองฝักสดข้าวที่มีแหล่งน้ำเสริมในจังหวัดอุทัยธานี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าระบบการปลูกพืชข้าวข้าว ร้อยละ 72.3 ระบบการปลูกข้าวถั่วเหลืองฝักสด ข้าวถั่วเขียว ข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวข้าวโพดเทียน เป็นระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในจังหวัดชัยนาท ในขณะเดียวกัน ระบบการปลูกข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวถั่วลิสงที่มีแหล่งน้ำเสริมในจังหวัดนครสวรรค์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว ร้อยละ 600 และ 207 ตามลำดับ การจัดการระบบการผลิตปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรอย่างยั่งยืนให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกรในเขตภาคใต้ตอนบน โดยได้ทำการทดสอบในพื้นที่เปูาหมาย ได้แก่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช จากผลการทดสอบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำ โดยการจัดการปุ๋ย การจัดการสวน และการเก็บเกี่ยวตามวิธีของกรมวิชาการเกษตร ให้รายได้สุทธิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 96 เมื่อเทียบกับวิธีเกษตรกร จากนั้นได้เลือกวิธีแนะน้าขยายผลสู่พื้นที่น้าร่องในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 1,388 บาทต่อไร่ต่อปี และรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 2,199 บาทต่อไร่ต่อปี การจัดทำแปลงต้นแบบพืชผสมผสานและทดสอบระบบการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในไร่เกษตรกรต้นแบบในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ตรัง และสตูล โดยจัดการระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานโดยยึดหลัก 9 พืชผสมผสานพอเพียงร่วมกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งการเพิ่มชนิดพืชหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 4,500 - 132,688 บาท/ครัวเรือน/ปี และได้พัฒนาระบบการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต้นแบบที่บ้านลำ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และขยายผลสู่ชุมชนตำบลบางเรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชลประทาน
จันทนา ใจจิตร, ชวนชื่น เดี่ยววิไล, ธำรง ช่วยเจริญ, พรทิพย์ แพงจันทร์, นิรมล ดำพะธิก, หฤทัย แก่นลา, สมชาย บุญประดับ, วันชัย ถนอมทรัพย์ และวิไลวรรณ พรหมคำ
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอ้านาจเจริญ, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในเขตชลประทาน ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เกษตรกรในเขตชลประทานและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชในพื้นที่ของเกษตรกรในเขตชลประทาน ผลการทดลองพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพทำให้ลดต้นทุนในระบบการปลูกพืชได้ร้อยละ 9 - 12 การใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งของกรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตและผลตอบแทนมากกว่าวิธีเกษตรกร ระบบพืชทุกระบบในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง วิธีทดสอบให้ค่า BCR สูงกว่าวิธีเกษตรกร ระบบข้าว - มันเทศถั่วเขียวและระบบข้าวพริกซอสข้าวโพดฝักอ่อนให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวร้อยละ 20 ในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานที่มีไม้ผลเป็นพืชหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ การปลูกมะปราง (มะยงชิดพันธุ์ทูลเกลำ) + ชะอม + ผักต่างๆ ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี ระหว่าง 9,795 – 41,192 บาท/ไร่ จังหวัดสุโขทัย คือ การปลูกชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ + พืชรอง (มะละกอ + เพกา) + ตะไคร้ + พืชผักต่างๆ ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี ระหว่าง 52,333–126,601 บาท/ไร่ และจังหวัดพิจิตร คือ การปลูกมะนาว+กล้วยหอมทอง+พริกซอส ให้ผลตอบแทนรวมทั้ง 5 ปี 63,110 บาท/ไร่ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนพบว่า ระบบข้าวถั่วเขียว มีผลตอบแทนน้อยกว่าทุกระบบ แต่เกษตรกรยังมีความต้องการปลูกถั่วเขียวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ส่วนระบบข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะพบปัญหากระทบแล้งในช่วงการออกดอกของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลต่อการติดเมล็ดและทำให้ผลผลิตต่ำ และระบบข้าวถั่วลิสง เป็นระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากกว่าระบบการปลูกพืชอื่นๆ และการผลิตข้าวโพดฝักสดและมะเขือเทศ ในพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนมพบว่า การผลิตมะเขือเทศจะให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรสูงกว่าระบบการผลิตข้าวโพดฝักสด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในพื้นที่ชลประทานโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่าระบบข้าวถั่วลิสง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 9,959.60 บาท/ไร่ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ระบบข้าวข้าวนาปรัง ซึ่งได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 2,284.60 บาท/ไร่ ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจมาก สำหรับระบบข้าวข้าวโพดข้าวเหนียวให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 1,908 บาท/ไร่ เกษตรกรมีความพึงพอใจน้อยกว่าระบบข้าวถั่วลิสง พื้นที่ภาคกลางในพื้นที่ชลประทานโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุ่งวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พบว่าระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด ข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวถั่วลิสง ให้ผลผลิตตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 16,597 6,672และ 11,197 บาท/ไร่ ตามลำดับ มากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรัง ร้อยละ 41.84 43.72 และ 104 ตามลำดับ ส่วนระบบข้าวข้าวโพดฝักสด และข้าวถั่วเขียว ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบต่ำกว่า 3 ระบบแรก พื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าระบบข้าวข้าวโพดฝักสด ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 8,887 - 17,883 บาท/ไร่ มากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรัง ร้อยละ 7.8 - 48.66 ระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด และระบบข้าวถั่วลิสง ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 32,819 และ 20,094 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าระบบข้าวข้าวปรัง ร้อยละ 139.3 และ 38.12 ตามลำดับ และระบบการปลูกพืชในพื้นที่อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง พบว่าระบบข้าว - ข้าวโพดฝักสด ข้าวถั่วเขียว และข้าวถั่วเหลืองฝักสด กรรมวิธีทดสอบทุกระบบให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 50 ดีกว่ากรรมวิธีเกษตรกร เช่นเดียวกับพื้นที่บูรณาการโครงการชลประทานชัยนาท อำเภอสรรคบุรีจังหวัดชัยนาท ระบบที่น้าไปทดสอบ ได้แก่ ระบบข้าวถั่วเขียว และข้าวข้าวโพดฝักสดให้ผลตอบแทนมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ส่วนพื้นที่ชลประทานโครงการชลประทานก้าแพงเพชร ตำบลตาขีด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าระบบข้าวถั่วเหลืองฝักสด และระบบข้าวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 17,533 และ 10,512 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าระบบข้าวข้าวนาปรังร้อยละ 107.9 และ 29.51 ตามลำดับ พื้นที่ภาคตะวันออก ระบบการปลูกพืชในพื้นที่ไม้ผลเป็นหลัก พบว่าระบบกล้วยไข่ + มังคุด ให้ผลผลิต 870 และ 855 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และมีรายได้ 19,201 และ 25,657 บาท/ไร่ ตามลำดับ มากกว่าการปลูกมังคุดเพียงพืชเดียว 20,686 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.58 ส่วนระบบกล้วยไข่ + ลองกอง มีผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งระบบ 29,725 บาท/ไร่ มากกว่าการปลูกลองกอง เพียงพืชเดียวร้อยละ 89.30 ระบบกล้วยไข่ + ทุเรียน มีผลตอบแทนเฉลี่ย 11,086 และ 90,000 บาท/ไร่ ตามลำดับ ระบบกล้วยไข่ + ลำไย มีผลตอบแทนเฉลี่ย 49,436 และ 9,989 บาท/ไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   227_2558.pdf (ขนาด: 2.16 MB / ดาวน์โหลด: 12,188)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม