โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช
#1
โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช
กัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์

          การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความชื้น ขนาดเมล็ด และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์พริกในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร นำเมล็ดพริกพันธุ์ 27-1-2-1 และพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 ที่ผ่านการลดความชื้น 4 ระดับ Control, 8, 6 และ 4% เก็บรักษาในซองอลูมิเนียมฟอยล์ไล่อากาศแล้วแบ่งตามแผนการทดลอง และเก็บรักษาไว้ที่ห้องควบคุมอุณหภูมิ 25, 5 และ -10 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบ split plot design จำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot จัดเรียง ทรีตเมนท์ เป็น 4x2 Factorial in RCB โดยปัจจัยแรก คือ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์พริก (4 ระดับ) ปัจจัยที่ 2 คือ ขนาดเมล็ด และ sub plot คือ ระยะเวลาที่เก็บรักษา โดยสุ่มมาทดสอบความงอกทุกเดือนทำการเก็บรักษาพร้อมกันทุกอุณหภูมิ นำเมล็ดมาทดสอบความงอกด้วยวิธี TP (Top of Paper) ทุกเดือน (5, 25 ºC) สำหรับอุณหภูมิ 10 ºC ทดสอบความงอก ทุก 6 เดือน ทดสอบความชื้นด้วยวิธี air oven method (ISTA, 2006) และทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี Germination Index Test ทดสอบทุก 6 เดือน พบว่าความงอกของพริกที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 25, 5 และ 10 ºC พบว่าระยะเวลาในการเก็บรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กล่าวคือ เมื่อเก็บรักษานานถึงเดือนที่ 25 พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงอย่างเห็นได้ชัดที่อุณหภูมิ 25 ºC ที่ระดับความชื้น Control แต่ที่มีความชื้น 4 % ความงอกยังอยู่ในระดับ 86.4, 86.3 % และเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 ºC และ 10 ºC ทุกระดับ ความชื้น ความงอกยังดีอยู่ โดยรวมแล้วพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 มีเปอร์เซ็นต์ความงอกน้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 27-1-2-1

          ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พริก เมื่อทดสอบด้วยวิธีดัชนีความงอก พบว่าเมล็ดพริกที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 ºC เมื่อเวลาผ่านไปจะมีความแข็งแรงลดลงทั้ง 2 พันธุ์ สำหรับห้อง 5 ºC และ 10 ºC ที่ระดับความชื้น Control, 8, 6 และ 4 % เมื่อเวลาผ่านไปค่าความแข็งแรงก็ไม่ได้ลดลงไปนัก พบว่าพันธุ์ห้วยสีทน ศก.1 แข็งแรงน้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 27-1-2-1 

           ความชื้นของเมล็ดที่เก็บรักษาไว้สามารถรักษาระดับความชื้นอยู่ได้ภายหลังที่เก็บรักษาถึง 25 เดือน และพบว่าขนาดของเมล็ดทั้งความหนา ความกว้าง ความยาว และน้ำหนักเมล็ด 1,000 เมล็ด ไม่มีผลต่อการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างๆ และที่ความชื้นทุกระดับ 

          ทานตะวัน เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่งเพราะมีคุณสมบัติทางโภชนาการสูงสามารถใช้เป็นสารประกอบในอุตสาหกรรมอื่นอีกมากมาย ปัจจุบันผลผลิตขาดแคลนไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์เนื่องจากปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมและพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้ขยายเข้าไปแทนที่การปลูกทานตะวันทำให้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของทานตะวันโดยรวมของประเทศมีแนวโน้มลดลง และต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์มาจากต่างประเทศเพราะไม่สามารถเก็บพันธุ์ได้เพราะส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม การเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ทานตะวันไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นแหล่งเก็บเชื้อพันธุ์ไม่ให้พันธุ์สูญหายไป และหากมีความต้องการใช้ในอนาคตยังสามารถนำคุณสมบัติที่ดีของเชื้อพันธุ์เหล่านั้นกลับเอามาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับงานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ทานตะวันเพื่อการอนุรักษ์ระยะยาวโดยที่เมล็ดพันธุ์ยังคงความมีชีวิตและมีความแข็งแรงเป็นสำคัญ ดำเนินการทดลองลดระดับความชื้นของเมล็ดพันธุ์ทานตะวันให้ได้ระดับที่ 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์โดยใช้ห้องลดความชื้น บรรจุเมล็ดพันธุ์ในถุงฟอยล์โดยใช้สภาพสุญญากาศจากนั้นเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ อุณหภูมิห้อง, 5 และ -10 องศาเซลเซียส บันทึกผลเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกทุกเดือนเป็นเวลา 27 เดือน จากการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ระดับความชื้น 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องมีค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยเท่ากับ 86 และ 82 ตามลำดับ สามารถเก็บรักษาได้นาน 27 เดือน ส่วนเมล็ดพันธุ์ทานตะวันทุกระดับความชื้นที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียสนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยอยู่ในช่วง 86 - 89 และ 87 - 90 ตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะสามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 27 เดือน

          คำฝอย (Safflower) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. เป็นพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านอาหาร การแพทย์ และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญ มีศักยภาพสูง เหมาะที่จะนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ แต่เนื่องจากคำฝอยเป็นพืชที่ในเมล็ดมีปริมาณน้ำมันสูง ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงได้ทำการศึกษาอิทธิพลของระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์และอุณหภูมิที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษา โดยศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ 4 ระดับ คือ 12, 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ คือ อุณหภูมิห้อง, 5 และ 10 องศาเซลเซียส พบว่าเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีระดับความชื้นในเมล็ด 12 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้น้อยกว่า 2 เดือน ในขณะที่เมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีระดับความชื้นในเมล็ด 8, 6 และ 4 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 9, 18 และ 27 เดือน ตามลำดับ ส่วนการเก็บรักษาเมล็ดคำฝอยที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 27 เดือน โดยที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยคงที่ตลอดอายุการเก็บรักษา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่มีความชื้นสูงไม่สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้ หากทำการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ลงจะทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้นตามระดับความชื้นที่ลดลง และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์คำฝอยที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ โดยที่ไม่ต้องทำการลดความชื้นในเมล็ดก่อนการเก็บรักษา

          เมล็ดพันธุ์ละหุ่งจัดเป็นพืชน้ำมัน และมีปริมาณน้ำมันสูงถึง 40 - 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้น การทดลองนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ละหุ่งเพื่อหาเทคนิคที่เหมาะสมในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ละหุ่งให้มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร จ.ปทุมธานี การศึกษาผลของความชื้นและอุณหภูมิที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ละหุ่ง แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ตามสภาพอุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ ได้แก่ อุณหภูมิห้อง 5 องศาเซลเซียส และ 10 องศาเซลเซียส แต่ละการทดลองวางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย main plot คือ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ 3 ระดับ ได้แก่ ความชื้นเริ่มต้น (8 เปอร์เซ็นต์) 6 เปอร์เซ็นต์ และ 4 เปอร์เซ็นต์ sub plot คือ ระยะเวลาในการเก็บรักษา 28 ระดับ ได้แก่ 0 - 27 เดือน บันทึกข้อมูลเปอร์เซ็นต์ความงอกทุก 1 เดือน พบว่าระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์มีผลต่อระยะเวลาในการเก็บรักษาในทุกอุณหภูมิที่เก็บรักษาอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยทุกอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่ระดับความชื้นในเมล็ดพันธุ์ 4 - 6 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นานที่สุด ที่อุณหภูมิห้องสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์นานประมาณ 2 - 3 เดือน โดยคงเปอร์เซ็นต์ความงอก 70 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์นานประมาณ 9 เดือน คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 2 ปี คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นานประมาณ 14 เดือน โดยคงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 2 ปี คงเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

          ในการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์นั้น ความชื้นภายในเมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์สูญเสียความมีชีวิตอย่างรวดเร็วเมื่อนำมาเก็บรักษา โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวใหม่ซึ่งมีระดับความชื้นสูง ด้วยเหตุนี้ การลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายดังกล่าว จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งของงานอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช การใช้ห้องลดความชื้นอุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความเสียหายของเมล็ดพันธุ์จากความร้อนได้ สำหรับห้องลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เป็นห้องลดความชื้นอุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลระยะเวลาในการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด การทดลองนี้จึงดำเนินการเพื่อศึกษาผลของระยะเวลาในการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์พืชด้วยห้องลดความชื้นต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลองลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว พริก กระเจี๊ยบแดง มะเขือ ข้าวโพด ทานตะวัน ข้าวสาลี ข้าว ถั่วมะแฮะ ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้ง และข้าวบาร์เล่ย์ วางแผนการทดลองแบบ RCB (Randomized Complete Block) จำนวน 4 ซ้ำ สิ่งทดลอง เป็นระยะเวลาในการลดความชื้น ตั้งแต่ 0 - 30 วัน ดำเนินการทดสอบหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นและเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดจนครบ กำหนด ผลการทดลอง สำหรับเปอร์เซ็นต์ความชื้นเมล็ดพันธุ์พบว่า เมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วภายในสัปดาห์ที่ 1 จากนั้น จะค่อยๆ ลดลงจนเกือบคงที่ซึ่ง ได้แก่ ถั่วเขียว กระเจี๊ยบแดง ข้าวโพด ข้าวสาลี ทานตะวัน ข้าว ถั่วพุ่ม ฝ้าย เดือย ปอคิวบา ปอกระเจา ผักกวางตุ้ง และข้าวบาร์เล่ย์ เมล็ดพันธุ์ที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ได้แก่ ถั่วมะแฮะ สำหรับเปอร์เซ็นต์ความงอกเมล็ดพันธุ์พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกคงที่ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี ทานตะวัน ข้าวบาร์เล่ย์ และผักกวางตุ้ง เมล็ดพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกค่อนข้างคงที่ ได้แก่ ถั่วเขียว กระเจี๊ยบแดง เดือย ปอคิวบา และปอกระเจา เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มลดลง ได้แก่ ถั่วมะแฮะ ถั่วพุ่ม และฝ้าย เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว สำหรับเมล็ดพันธุ์พริกและมะเขือพบว่าไม่สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์ความชื้นและเปอร์เซ็นต์ความงอกตามระยะเวลาการลดความชื้นได้ นอกจากนี้พบว่าหลังจากเมล็ดพันธุ์ชนิดต่างๆ ผ่านการลดความชื้นเป็นเวลา 30 วัน เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกอยู่ที่ระดับสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้สำหรับการเก็บรักษาในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช

          การทดลองที่ 1 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บเมล็ดที่อุณหภูมิห้อง ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 3, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 21 เดือน ส้มป่อยที่อายุ 15 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 18, 21 และ 24 เดือน โสนที่อายุ 21 และ 24 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 3 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05) โดยเมล็ดหางนกยูงที่ไม่ได้ลดความชื้นในเมล็ด (Control) เปอร์เซ็นต์ความงอกมีแนวโน้มสูงกว่าเมล็ดที่ลดความชื้นในเมล็ด 8 และ 6% ในเมล็ดครามพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบที่มีความชื้นในเมล็ด 6% (R2 = 0.524*) ในเมล็ดส้มป่อยพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) ความชื้นในเมล็ด 8% และความชื้นในเมล็ด 6% (R2 = 0.751*, R2 = 0.913** และ R2 = 0.911** ตามลำดับ) ในเมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) และความชื้นในเมล็ด 8% (R2 = 0.805** และ R2 = 0.781** ตามลำดับ) ในเมล็ดแคบ้านพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้นในเมล็ด (control) (R2 = 0.889**) ในเมล็ดโสนพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) และความชื้นในเมล็ด 8% (R2 = 0.948** และ R2 = 0.675** ตามลำดับ)

          การทดลองที่ 2 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บที่ห้องอนุรักษ์ระยะปานกลาง (5 °C) ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 12, 18, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 24 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 15, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 6 และ 21 เดือน ชุมเห็ดเล็กที่อายุ 3 และ 6 เดือนโสนที่อายุ 3 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 9 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05) ในเมล็ดหางนกยูงฝรั่งพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 8% และความชื้นในเมล็ด 6 % (R2 = 0.689** และ R2 = 0.823** ตามลำดับ) เมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางบวกของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 = 0.726**) ในเมล็ดชุมเห็ดเล็กพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 = 0.505*)

          การทดลองที่ 3 การศึกษาระดับความชื้นในเมล็ดต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสมุนไพรวงศ์ Leguminosae เมื่อเก็บที่ห้องอนุรักษ์ระยะยาว (-10 °C) ความชื้นในเมล็ดที่ต่างกันมีอิทธิพลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของหางนกยูงฝรั่งที่อายุ 3, 6, 12, 15, 18, 21 และ 24 เดือน ครามที่อายุ 18 เดือน กัลปพฤกษ์ที่อายุ 3, 12, 18, 21 และ 24 เดือน แคบ้านที่อายุ 9 และ 18 เดือน ชุมเห็ดเล็กที่อายุ 24 เดือนโสนที่อายุ 9 เดือน หางนกยูงไทยที่อายุ 6 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05) ในเมล็ดครามพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 6% (R2 = 0.702**) ในเมล็ดกัลปพฤกษ์พบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางบวกของเมล็ดที่ไม่ได้ลดความชื้น (control) (R2 = 0.549**) ในเมล็ดโสนพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 8% (R2 = 0.636*) และในเมล็ดฝางพบความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ดกับอายุการเก็บรักษามีความสัมพันธ์ในทางลบของเมล็ดที่มีความชื้นในเมล็ด 6% (R2 = 0.995*)

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์สมุนไพรวงศ์ Leguminosae อย่างน้อย 10 ชนิด ได้แก่ 1) หางนกยูงไทย 2) โสน 3) แคบ้าน 4) ชุมเห็ดเล็ก 5) หางนกยูงฝรั่ง 6) ฝาง 7) ส้มป่อย 8) กัลปพฤกษ์ 9) คราม และ 10) ทองกวาวในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยแบ่งเป็น 3 การทดลอง ในแต่ละการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCBD 4 ซ้ำ มี 3 กรรมวิธี ดังนี้ ได้แก่ 1) control (ความชื้นในเมล็ดก่อนลด) 2) ความชื้นในเมล็ด 8 % และ 3) ความชื้นในเมล็ด 6 % ข้อมูลที่ทำการตรวจวัด ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ความงอก ที่อายุ 3, 6, 9, 12, 15, 18, 21 และ 24 เดือนหลังจากเก็บ ผลการทดลองพบว่า

          ชมพูสิรินและไอยริศเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพฯ ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่นและพืชหายาก จึงได้นำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มปริมาณและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชทั้งสองชนิด งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มปริมาณต้นชมพูสิรินและไอยริศในสภาพปลอดเชื้อและทำการเพาะเลี้ยงไอยริศบนอาหารสำหรับชะลอการเจริญเติบโต โดยทดลองแปรผันปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินและไซโตไคนิน ความเข้มข้นของสารอาหารในอาหารเพาะเลี้ยง และปริมาณน้ำตาลซูโครส พบว่าต้นชมพูสิรินสร้างจำนวนยอดได้มากที่สุดเฉลี่ย 5.9 ยอด/ข้อ บนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 3 มก./ล. ร่วมกับ NAA 1 มก./ล. โดยที่การเติมสาร NAA กับไม่เติมให้จำนวนยอดไม่แตกต่างกัน ส่วนต้นไอยริศสร้างจำนวนยอดได้มากที่สุดเฉลี่ย 9 ยอด/หน่อ เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล. ร่วมกับ IAA 2 มก./ล. และสูตรอาหารที่เหมาะสำหรับการชะลอการเจริญเติบโตของไอยริศ คือ 1/4 MS และ 1/8 MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 15 ก./ล. ซึ่งให้อัตราการมีชีวิตรอดเท่ากันเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 12 เดือน โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่

          ภูมิพลินทร์ และนครินทรา เป็นพืชหายากถิ่นเดียวของไทย วงศ์ Gesneriaceae จำเป็นต้องใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์ โดยนำตัวอย่างต้นภูมิพลินทร์และนครินทราจากแหล่งธรรมชาติมาศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อฝักภูมิพลินทร์และนครินทรา 3 วิธี คือ จุ่มผักในแอลกอออล์ 95% แล้วนำไปผ่านไฟฆ่าเชื้อ, ผ่าฝักใส่ในน้ำที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ และผ่าฝักใส่ในสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 5% พบว่าวิธีจุ่มฝักในแอลกอฮอล์ 95% แล้วผ่านไฟฆ่าเชื้อบิดฝักให้แตกแคะเมล็ดเลี้ยงบนอาหารเป็นวิธีที่เหมาะสม ทำให้ได้เนื้อเยื่อที่ปลอดการปนเปื้อนของเชื้อ 55.55% และ 75% ตามลำดับ การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณ โดยนำต้นกล้าเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมสาร 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก (2,4-D) ร่วมกับสารเบนซิลอะดีนิน (BA) ความเข้มข้น 0, 0.1 และ 1 mg/l พบว่าต้นภูมิพลินทร์ที่เลี้ยงบนอาหารเติมสาร 2,4-D ความเข้มข้น 0.1 mg/l ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 0.1 mg/l สามารถชักนำให้เกิดยอดที่สมบูรณ์เฉลี่ย 12.1 ยอด ส่วนต้นนครินทราการเติม 2,4-D ความเข้มข้น 1 mg/l เพียงอย่างเดียวสามารถชักนำให้เกิดยอดที่สมบูรณ์เฉลี่ย 9.8 ยอด และสามารถเพิ่มขนาดกลุ่มเนื้อเยื่อได้ดีกว่าการใช้สาร BA ร่วมด้วยซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพุ่มยอดขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ เมื่อเลี้ยงต้นนครินทราบนอาหารสูตร MS ร่วมกับการเติมสารอินโด-3-บิวทิวริกแอซิต (IBA) ความเข้มข้น 0, 0.1 0.5 และ 1 mg/l พบว่าต้นที่เลี้ยงบนอาหาร MS ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 0.5 mg/l เกิดยอดสมบูรณ์ 15.8 ยอด สำหรับการเลี้ยงยอดที่สมบูรณ์บนอาหารสูตร Woody Plant (WP) จะชักนำให้เกิดรากได้เฉลี่ย 8.87 ราก ยาว 3.98 cm การศึกษาสูตรอาหารสำหรับการชะลอการเจริญเติบโต โดยใช้สูตรอาหารลดปริมาณ MS ได้แก่ MS, 1/2 MS, 1/4 MS และ 1/8 MS พบว่าต้นภูมิพลินทร์และนครินทราใช้สูตรอาหาร 1/2 MS เพาะเลี้ยงได้นานกว่าสูตรอื่นๆ และเมื่อปรับปริมาณน้ำตาลซูโครซ (sucrose) ร่วมกับน้ำตาลแมนนิทอล (mannitol) ความเข้มข้น 0, 10, 20 และ 30 g/l พบว่านครินทราที่เลี้ยงบนอาหารลดปริมาณซูโครสจะทำให้มีร้อยละการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเลี้ยงเป็นเวลานาน 1 ปี แต่เมื่อใช้ซูโครซร่วมกับแมนนิทอลทำให้ต้นพืชมีอาการฉ่ำน้ำมากขึ้น

          กระทุงบวบเหลี่ยม (Aristolochia baenzigeri B.Hansen & Phuph) และกระเช้าหนู (Aristolochia helix Phuph.) จัดเป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic plant) และพืชหายาก (Rare) โดยกระทุงบวบเหลี่ยมพบได้ที่ จ.แม่ฮ่องสอน และกระเช้าหนู พบได้ที่ จ.พังงา ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลง เนื่องจากสภาพตามธรรมชาติถูกทำลาย จึงทำการศึกษาเพื่อการขยายพันธุ์และอนุรักษ์พืชทั้งสองชนิดในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำเมล็ดมาฟอกฆ่าเชื้อโดยใช้ด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ที่ความเข้มข้น และระยะเวลาต่างๆ โดยฟอกฆ่าเชื้อจำนวน 2 ครั้ง สำหรับกระทุงบวบเหลี่ยมใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 20 นาที ครั้งที่ 1 และสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 30 นาที ครั้งที่ 2 ส่วนต้นกระเช้าหนูใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 10 นาที ครั้งที่ 1 และสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 10 นาที ครั้งที่ 2 และเมื่อทดสอบสูตรอาหารเพื่อการชักนำยอดของต้นกระเช้าหนูพบว่า สูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลทำให้ต้นกระเช้าหนูเกิดยอดมากที่สุด 3.13 ยอด แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และ สูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ต้นกระเช้าหนูมีความยาวของยอดใหม่สูงที่สุด 5.12 เซนติเมตร โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนต้นกระทุงบวบเหลี่ยมไม่ตอบสนองต่อสูตรอาหารที่ใช้ทดสอบและต้นตายในที่สุด และต้นกระเช้าหนูสามารถเก็บอนุรักษ์ในสภาพปลอดเชื้อได้นาน 4 เดือน โดยการเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต

          พลับพลึงธาร มีชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum thaianum J. Schulze อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae เป็นพืชล้มลุกอาศัยอยู่ใต้น้ำ จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่น (endemic species) ของประเทศไทย พบเฉพาะภาคใต้ในเขตจังหวัดระนองและพังงาเท่านั้น จากการสำรวจเมื่อปี 2554 พบพลับพลึงธารในพื้นที่คลองนาคา ตำบลนาคา อำเภอ สุขสำราญ จังหวัดระนอง และปี 2555 พบพลับพลึงธารในพื้นที่ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จ.พังงา เมื่อนำพลับพลึงธารมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการฟอกฆ่าเชื้อพลับพลึงธาร โดยการล้างทำความสะอาดและเปิดน้ำไหลนาน 1 ชั่วโมง ก่อนการใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลานาน 30 นาที ครั้งที่ 1 และสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลานาน 30 นาที ครั้งที่ 2 และแช่ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อในสารละลาย Povidone-Iodine ต่อน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ อัตราส่วน 5 : 1 ระยะเวลานาน 30 นาที ด้วยวิธีดังกล่าวชิ้นส่วนพลับพลึงธารมีอัตราการรอดชีวิตคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำพลับพลึงธารมาทดสอบสูตรอาหารที่เหมาะสมในการพัฒนาเกิดหัวย่อยในสูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ที่ความเข้มข้น 0, 1, 5, 10, 15, 22.2 ไมโครโมลาร์ พบว่าสูตรอาหาร MS ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ และปริมาณน้ำตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร มีแนวโน้มการเกิดหัวย่อยได้ดีที่สุดคิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต์ และการเกิดรากคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อทดสอบสูตรอาหารที่เหมาะสม เพื่อชักนำหัวย่อยให้พัฒนาเป็นต้นที่สมบูรณ์บนสูตรอาหาร MS ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 15 และ 30 กรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำมะพร้าว 100 และ 150 มิลลิลิตรต่อลิตร พบว่าสูตรอาหาร MS ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 15 กรัมต่อลิตร ร่วมกับน้ำมะพร้าว 100 มิลลิลิตรต่อลิตร มีอัตราการเกิดต้น 68.75 เปอร์เซ็นต์ มีการเกิดราก 100 เปอร์เซ็นต์

          เฟิร์นเป็นพืชที่มีการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายโดยเฉพาะการเป็นไม้ประดับ มีการลักลอบนำเฟิร์นป่าออกมาจำหน่ายส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของเฟิร์น จึงได้ศึกษาเทคนิคการอนุรักษ์สปอร์เฟิร์นที่ถูกนำออกจากป่าเพื่อการค้า สำหรับการอนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชกรมวิชาการเกษตร ในการศึกษาได้คัดเลือกเฟิร์น 6 ชนิด คือ กูดดอย Blechnum orientale กูดบ้ง Bolbitis sinensis ว่านไก่น้อย Cibotium barometz ผักกูด Diplazium esculentum ก้านดำหลังเงิน Pityrogramma calomelanos และห่อข้าวสีดา Platycerium coronarium จากการศึกษาพบว่าสปอร์ B. orientale C. barometz และ P. coronarium สามารถฟอกด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที แต่วิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมสำหรับสปอร์ P. calomelanos คือ ฟอกด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที สูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ความงอกคืออาหารสูตร MA และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาสปอร์เฟิร์น C. barometz และ P. coronarium คือ 5  และ -10 องศาเซลเซียส สำหรับสปอร์ B. orientale และ P. calomelanos ส่วนสปอร์ B. sinensis และ D. esculentum ไม่งอกในทุกการทดลอง ทั้งนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสปอร์ของเฟิร์นแต่ละชนิดมีความผันแปรอย่างมาก จึงควรวิธีการฟอก วิธีการเพาะ สูตรอาหารเพาะเลี้ยง อุณหภูมิการเก็บรักษาและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์เฟิร์นแต่ละชนิดต่อไป

          พืชวงศ์ขิง 24 ชนิด จาก 5 สกุล คือ 1) สกุล Zingiber จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขิงแครง (KH) ไพลขาว (PK) ไพลชมพู (PC) ไพลดำ (PD) และไพลปลุกเสก (PS) 2) สกุล Alipinia จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ข่า (K) ข่าจืด (KJ) และข่าใหญ่ (KY) 3) สกุล Bosenbergia จำนวน 2 ชนิด คือ กระชายแกง (GG) และ กระชายแดง (GDG) 4) สกุล Curcuma จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นขาว (KK) ขมิ้นขาวปัดตลอด (KPT) ขมิ้นชัน (KC) ขมิ้นดำ (KD) ขมิ้นดำตาก (KDT) พญาว่าน (PYW) ว่านชักมดลูกตัวผู้ (WP) ว่านชักมดลูกตัวเมีย (WM) และว่านมหาเมฆ (WMM) และ 5) สกุล Kaempferia จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กระแจะจันทร์ (KJJ) กระชายดำ (GD) ว่านเฒ่าหนังแห้ง (TH) ว่านทิพยเนตร (WTN) และว่านดักแด้ (WD) ซึ่งได้ทำการปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรือนอนุรักษ์พันธุกรรมพืชวงศ์ขิง ของกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชฯ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (บางเขน) ได้นำมาทำการจำแนกลักษณะทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค Inter-simple sequence repeat (ISSR) โดยใช้ไพรเมอร์จำนวน 16 ชนิด พบว่า ไพรเมอร์ 11 ชนิด คือ (CAC)3GC, (GAG)3GC, (CA)6GT, (CA)6AG, (AG)7AA, (GA)6CC, (GA)6GG, (AG)7AAG, (AG)8C, (CA)9A และ CCCC(GT)6 สามารถสังเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับจำนวนแถบได้ โดยไพรเมอร์ทั้ง 11 ชนิด สังเคราะห์แถบดีเอ็นเอได้ทั้งหมด 127 แถบ เป็นแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างกัน (polymorphic band) จำนวน 124 แถบ คิดเป็น 97.64%

          เมื่อนำข้อมูลการปรากฏและไม่ปรากฏแถบดีเอ็นเอของพืชวงศ์ขิง 24 ชนิด ที่ได้จาก ISSR ไพรเมอร์ทั้ง 11 ชนิด มาวิเคราะห์แบบรวมเพื่อประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากเดนโดรแกรม โดยวิเคราะห์การจัดกลุ่มแบบ Hierarchical Cluster Analysis พบว่าสามารถจัดกลุ่มพืชวงศ์ขิงในสกุล Alpinia, Bosenbergia, Curcuma และ Kaempferia ได้ที่ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม 81, 94, 89 และ 78% ตามลำดับ

          ศึกษาเทคนิคเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พริกที่อนุรักษ์ไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืชทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร โดยการทดสอบพริก 8 พันธุ์ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พจ.01, พริกชี้ฟ้า พจ.05, พริกชี้ฟ้า พจ. 07, พริกมันดำ, พริกขี้หนูผลใหญ่ห้วยสีทน, พริกขี้หนูผลใหญ่หัวเรือเบอร์ 13, พริกขี้หนูผลใหญ่ลูกผสมซุปเปอร์ฮอท 2, พริกขี้หนูสวน Bird Chili วางแผนการทดลองแบบ Split plot design จำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot คือวิธีทดสอบความแข็งแรงและ sub plot คือ เวลาที่ทำการเก็บรักษา (6 ครั้ง) วิธีทดสอบความแข็งแรงมีดังนี้ 1) วิธีเร่งอายุด้วยน้ำกลั่น (Accelerated Aging Test, AAT) 2) วิธีทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธีเร่งอายุด้วยสารละลายอิ่มตัว (Saturated Salt Accelerated Aging Test, SSAAT) 3) วิธีวัดค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity Test (EC) 4) วิธี Controlled Deterioration Test (CD) 5) วิธีเพาะความงอกปกติเป็น control โดยการทดสอบความชื้นก่อนเก็บ ความงอกและความแข็งแรงเริ่มต้น ทำการทดสอบความงอกด้วยวิธี Top of paper และความแข็งแรงด้วยวิธีทั้ง 5 วิธี ที่ห้องอุณหภูมิ 5, 25, -10 องศาเซลเซียส 3 เดือนต่อครั้ง และทดสอบความงอกและความแข็งแรง 6 ครั้ง ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2556, ครั้งที่ 2 มีนาคม 2557, ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2557, ครั้งที่ 4 พฤศจิกายน 2557, ครั้งที่ 5 มีนาคม2558 และครั้งที่ 6 กรกฎาคม 2558 ตามลำดับ

[align=justify]          โดยสุ่มมาทดสอบแต่ละครั้งสำหรับการเก็บรักษาในสภาพเยือกแข็งโดยวิธี vitrification ประมาณ 6 เดือน/ครั้ง ทดลองที่ห้องปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สำหรับผลการทดสอบเมล็ดพันธุ์พริกทั้ง 8 พันธุ์ ที่เก็บรักษาไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ที่อุณหภูมิ 5, 25 และ -10 องศาเซลเซียสนั้นพบว่า เปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรงด้วยวิธีต่างๆ ทั้ง 5 วิธีนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แม้เวลาผ่านไป พริกทั้ง 8 พันธุ์ เปอร์เซ็นต์ความงอกส่วนใหญ่มีค่าลดลงพบว่า พริกมันดำมีความงอกดีมากแม้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส สำหรับพันธุ์พริก พจ.01, พจ.05 และ พจ.07 พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกมีเปอร์เซ็นต์ความงอกแรกเริ่มสูงทั้ง 3 พันธุ์ ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่สำหรับอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส พบว่าพริก พจ.07 เปอร์เซ็นต์ ความงอกแรกเริ่มไม่สูงนัก (51 - 70%) พันธุ์ พจ.01 และพจ.05 เมื่อเวลาผ่านไปยังมีความงอกที่ดีอยู่ (66 - 84, 68 - 90% ตามลำดับ) และอุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส เมื่อเวลาผ่านไป พจ.01 และพจ.05 มีความงอกที่ดีอยู่ในช่วง 35 - 93% ส่วนพจ.07 อยู่ในช่วง 51 - 77% และพบว่าพริกห้วยสีทนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกตั้งแต่แรกเริ่มน้อยกว่าพันธุ์อื่น และค่าความแข็งแรงพบว่าทุกพันธุ์เมื่อทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธี EC ให้ค่ามากกว่าวิธีอื่นๆ ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ยกเว้นพันธุ์พิจิตร 05 ทดสอบด้วยวิธี CD มีค่ามากกว่าพันธุ์อื่นๆ สำหรับอุณหภูมิเก็บรักษาที่ 5 อง


ไฟล์แนบ
.pdf   194_2558.pdf (ขนาด: 18.08 MB / ดาวน์โหลด: 795)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม