การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
#1
การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
จิติมา ยถาภูธานนท์, วรรณรัตน์ ชุติบุตร, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, อรพิน หนูทอง, จิราภา เมืองคล้าย, อนนท์ สุขสวัสดิ์, สรัญญา ช่วงพิมพ์, เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน, อาทิตยา พงษ์ชัยสิทธิ์, จิราพรรณ ทองหยอด, จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, จิตติรัตน์ ชูชาติ, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สาธิดา โพธิ์น้อย, นันทกานต์ ขุนโหร, จริยา วงศ์ตรี, รัตนาภรณ์ คชวงศ์, สงกรานต์ มะลิสอน, ทองจันทร์ พิมพ์เพชร, ชฎาพร คงนาม, ปรียาภรณ์ บุญขจาย, ศุภากร ดวนใหญ่, อาธิยา ปุ่นประโคน, พงศ์พิศ แก้วสุข, เจนจิรา เทเวศร์วรกุล, อมรา หาญจวณิช, สุภา โพธิจันทร์, ญาณธิชา จิตต์สะอาด, พจมาลย์ ภู่สาร, สุภานันทน์ จันทร์ประอบ, เรวดี ศิริยาน, สุพิศสา ทองเขียว, เพชรรัตน์ ศิริวิ, มนต์ชัย อินทร์ท่าอิฐ, จุลศักดิ์ บุญรัตน์, พินิตนันต์ สรวยเอี่ยม, ธิติยาภรณ์ ประยูรมหิศร, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี, พนิดา มงคลวุฒิกุล, ดวงรัตน์ วิลาสินี, พิเชษฐ์ ทองละเอียด, ธนิตา ค่่าอ่านวย, สุกัญญา ค่าคง, ฉลองรัตน์ หมื่นขวา, ทัศนี อัฏฐพรพงษ์, อนุชา ผลไสว, ภัทรฤทัย คมน์ณัฐ, ศรีสุดา รื่นเจริญ, รัฐกร สืบค่า, ทิวาพร ผดุง, นงพงา โอลเสน, สิริพร มะเจี่ยว, สุวณี ตันเฮง, หัสฐวิช บุญเหลือ, สาคร นิยมสัตย์, วิภาพร เกียรตินิติประวัติ, เบญจมาศ ใจแก้ว, สุธินี สาสีลัง, พรศิริ สายะพันธ์, ปริยานุช สายสุพรรณ์, จารุพงศ์ ประสพสุข, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ, อรัญญา ลุนจันทา, บังอร แสนคาน, สุพัตรา สุภาการ, นาตยา จันทร์ส่อง, รัตติญา คงเม่น, ทวีพร สุกใส, อาภรณ์ ทองบุราณ, ทิตยา ประเสริฐกุล, อุมาพร รักษาพราหมณ์, จิตติลักษณ์ เหมะ, สิริฉัตร เชาวน์วุฒิกุล, นิกร โคตรสมบัติ, ศิริรัตน์ ตันไสว, พิรุณ ติระพัฒน์, ปริญญาพร จันทร์หอม และเยาวลักษณ์ แสงแก้ว
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8

          ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของกรมวิชาการเกษตร ทั้งส่วนกลาง กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และส่วนภูมิภาค สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขต ได้ทำการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์คุณภาพปัจจัยการผลิตของห้องปฏิบัติการ ระหว่างปี 2554 – 2558 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการ ให้ได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 เพื่อยกระดับมาตรฐานการวิเคราะห์ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และเทียบเท่าสากล ส่งผลให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้อง แม่นยำ สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่เชื่อถือของผู้ใช้บริการ ทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร พืช ดิน สารธรรมชาติ เพื่อพิสูจน์ยืนยันคุณลักษณะเฉพาะของวิธีวิเคราะห์ว่าวิธีวิเคราะห์นี้มีความถูกต้อง แม่นยำ มีความนำเชื่อถือ สามารถอ้างอิงได้ตามมาตรฐานสากล ประเมินผลด้วยวิธีทางสถิติโดยศึกษาหาความแม่นของการวัด (Accuracy) ประเมินด้วย ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับที่ 98 – 102 ความเที่ยง (Precision) ประเมินด้วย ค่า HORRAT ที่น้อยกว่า 2 วัดปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of detection, LOD) วัดปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ (Limit of quantitation, LOQ) วัดช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานของวิธีวิเคราะห์ (Range) วัดช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานที่จะนำมาใช้งาน (Linearity) ประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ ที่มากกว่า 0.995 ผลการประเมินพบว่า ค่าที่ได้ทั้งหมดของวิธีวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตผ่านเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานสากล แสดงว่าวิธีวิเคราะห์ปุ๋ย และวิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร พืช ดิน สารธรรมชาติ ที่ห้องปฏิบัติการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขต ใช้อยู่มีความมีความถูกต้อง แม่นยำ สามารถนำไปใช้เป็นวิธีมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ และผลสำเร็จของผลงานวิจัยในโครงการ สามารถนำไปขยายผล ใช้เป็นข้อกำหนดที่สำคัญทางด้านวิชาการที่ทำให้ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2005 ส่งผลให้การตรวจวิเคราะห์ เพื่อควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สร้างความเชื่อมั่นและลดข้อโต้แย้งของผลวิเคราะห์ ที่ใช้ประกอบการดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทำให้เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ สรุปในภาพรวมของโครงการพบว่า วิธีวิเคราะห์ปุ๋ยที่ได้พัฒนาและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 42 วิธี วิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 36 วิธี วิธีวิเคราะห์พืชที่ได้พัฒนาและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 10 วิธี วิธีวิเคราะห์ดินที่ได้พัฒนาในระบบคุณภาพและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 6 วิธี วิธีวิเคราะห์สารสกัดจากพืชที่ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 2 วิธี ได้วัสดุอ้างอิงภายใน 2 ชุด ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อ้างอิงภายใน ดินอ้างอิงภายใน ที่ใช้ควบคุมคุณภาพผลวิเคราะห์ทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการผ่านกิจกรรมเปรียบเทียบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินอีก 1 กิจกรรม ได้วิธีวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโกปี (NIRS) ที่ให้ผลวิเคราะห์รวดเร็วทราบผลภายใน 1 - 2 นาที แม่นยำตามมาตรฐานสากล น่าเชื่อถือ ปลอดภัยจากสารเคมี และรักษาสิ่งแวดล้อม 5 วิธี ได้แก่ วิธีประเมินปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยอินทรีย์ โปรตีนในถั่วเหลือง สมบัติทางเคมีและทางกายภาพในดิน และปริมาณน้ำในผลิตภัณฑ์สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ได้วิธีวิเคราะห์อย่างง่าย เพื่อใช้ในระบบการผลิตพืช 2 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบความต้องการปูนของดิน และชุดตรวจสอบอินทรียวัตถุของดิน ผลสำเร็จของงานวิจัยด้านฐานข้อมูลพบว่า ได้ข้อมูลด้านประเมินศักยภาพคุณภาพและการจัดการองค์ความรู้เพื่อให้บริการด้านดิน น้ำ ปุ๋ย สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช 6 ชุด ได้แก่ 1) คุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำและน้ำบาดาลที่ใช้ในทางการเกษตรบริเวณเขตภาคกลาง ส่วนใหญ่มีคุณภาพดีถึงดีมาก มีปริมาณเกลือและแร่ธาตุ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้รดพืชทั่วไปได้ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคงสภาพในการเก็บรักษาสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช paclobutrazol, gibberellic acid และ ethephon พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 เดือน ทำให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทุกชนิดและทุกสูตรความเข้มข้นมีความคงสภาพดี เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ 3) ได้โปรแกรมค่านวณอัตโนมัติเพื่อพิสูจน์ปุ๋ยปลอม ปุ๋ยผิดมาตรฐานของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ 4) จากการสำรวจและศึกษาขนาดอนุภาคและความแข็งของเม็ดปุ๋ยของแม่ปุ๋ยนำเข้า และข้อมูลสารตัวเติมจากแหล่งต่างๆ ที่จะใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยพบว่า ตัวอย่างแม่ปุ๋ยที่สุ่มเก็บจากท้องตลาดของภาคต่างๆ บางส่วนมีลักษณะทางกายภาพไม่ผ่านตามเกณฑ์การคัดเลือกวัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า 5) ความสัมพันธ์ของค่าความเป็นกรด - ด่าง และค่าการนำไฟฟ้าที่มีต่อดัชนีการงอกในปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อหาค่าความเป็นกรดด่าง และค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อปุ๋ยอินทรีย์ 6) ได้สมการที่ใช้ทำนายค่าดัชนีการงอกในปุ๋ยอินทรีย์ ข้อมูลด้านประเมินคุณภาพปัจจัยการผลิตนี้เพื่อให้บริการกับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ได้ใช้และผลิตปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


ไฟล์แนบ
.pdf   176_2558.pdf (ขนาด: 618.64 KB / ดาวน์โหลด: 5,889)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม