การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวและหนอนชอนใบในผักสวนครัว(กะเพรา โหระพาและแมงลัก)
#1
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวและหนอนชอนใบในผักสวนครัว (กะเพรา โหระพา และแมงลัก)
สุเทพ สหายา และพวงผกา อ่างมณี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวและหนอนชอนใบในผักสวนครัว ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2555 ดำเนินการในแปลงปลูกกะเพราของเกษตรกรที่ปลูกบนร่องกว้าง 4 เมตร สำรวจการระบาดของแมลงศัตรูชนิดต่างๆ บนกะเพราหลังตัดยอดประมาณ 7 วัน ไม่พบการระบาดของแมลงศัตรูเป้าหมายทั้งแมลงหวี่ขาวและหนอนชอนใบ แต่พบการระบาดของเพลี้ยไฟจึงปรับแผนการทดลองทดสอบกับเพลี้ยไฟ ทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 2 x 4 เมตร จำนวน 24 แปลงย่อย วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารชนิดและอัตราดังนี้ thiamethoxam (Actara 25%WG) อัตรา 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร imidacloprid (Provado 70%WG) อัตรา 12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร clothianidin (Dantoz 16%SG) อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร spiromesifen (Oberon 24%SC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร spinosad (Success 12%SC) อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และไม่พ่นสารฆ่าแมลง ทำการพ่นสาร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พบว่าทุกกรรมวิธีสามารถลดประชากรเพลี้ยไฟในกะเพราได้แต่กรรมวิธีที่มีแนวโน้มประสิทธิภาพดี ได้แก่ spiromesifen และ spinosad อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลก่อนทำการแนะนำ


ไฟล์แนบ
.pdf   2139_2554.pdf (ขนาด: 106.33 KB / ดาวน์โหลด: 551)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม