โครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่
#1
โครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่
ทักษิณา ศันสยะวิชัย, อมฤต วงษ์ศิริ, ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์, แคทลิยา เอกอุ่น, สรรเสริญ เสียงใส, รัชนีวรรณ ชูเชิด, นวลมณี พรหมนิล, บุญอุ้ม แคล้วโยธา, บุญญาภา ศรีหาตา, อนงค์นาฏ ชมพูแก้ว, ศิริรัตน์ เถื่อนสบัติ, สุชาติ คําอ่อน, มัทนา วานิชย์, สุดารัตน์ โชคแสน, อนุชา เหลาเคน, ศรีนวล สุราษฎร์, เบญจมาศ คําสืบ, ยุวลักษณ์ ผายดี, นงลักษณ์ จีนกูล, พิกุลทอง สุอนงค์, รัตติยา พวงแก้ว, มัตติกา ทองรส, ไพรินทร์ ผลตระกูล, อัญชลี โพธิ์ตั้งธรรม, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, ปรีชา กาเพ็ชร, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, รุ่งทิวา ดารักษ์, อภิวันท์ วรินทร์, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, มนัสชญา สายพนัส, ประยูร สมฤทธิ์, กุลธิดา ดอนอยู่ไพร, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, ยุพา สุวิเชียร, ณัฐธิดา ทองนาค, วิภาวรรณ ดวนมีสุข, อารีรัตน์ พระเพชร, อรณิชชา สุวรรณโฉม, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, สุนี ศรีสิงห์, อุดม วงศ์ชนะภัย, อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข, วาสนา วันดี, อัจฉราภรณ์ วงศ์สุขศรี, ชัยวัฒน์ กะการดี, สุภาพร สุขโต, อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, เบญจรัตน์ วุฒิกมลชัย, พินิจ กัลยาศิลปิน, วุฒิ นิพนธ์กิจ, ประเวศน์ ศิริเดช, ศักดิ์เศวต เศวตเวช, จารุณี ติสวัสดิ์, วิลาสลักษณ์ ว่องไว, สันติ โยธาราษฎร์, วิภาดา แสงสร้อย, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, นัด ไชยมงคล, ทวีพงษ์ ณ น่าน, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี, พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, ไกรศร ตาวงศ์, ชลธิชา เตโช, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, สมพร วนะสิทธิ์, ชยันต์ ภักดีไทย, อิสระ พุทธสิมมา, วันทนา เลิศศิริวรกุล, กลวัชร ทิมินกุล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ และศรีสุดา ทิพยรักษ์

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการใช้สารปรับปรุงดิน เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และอุดรธานีใช้สารปรับปรุงดินโดโลไมท์ 200 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ชัยภูมิปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) และปูนขาว และเลยปรับปรุงดินด้วยกากตะกอนหม้อกรองร่วมกับใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตและผลตอบแทนต่อการลงทุนดีกว่าวิธีเกษตรกร การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่มุกดาหาร ขอนแก่น และสกลนคร กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมโรคใบขาวอ้อย ที่อุดรธานี กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และขอนแก่น การใช้พันธุ์อ้อยสะอาดจากแปลงพันธุ์ การปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ลดการเป็นโรคใบขาวและได้ผลผลิตมากกว่าวิธีของเกษตกร แต่ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงพบการเป็นโรคมากในอ้อยตอ

          ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ช่วงปี 2554 - 2556 ทดสอบการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 พบว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือปรับใช้ปุ๋ยผสมสูตรใกล้เคียงร่วมปุ๋ยคอกทําให้ได้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกรที่จังหวัดร้อยเอ็ด และนครราชสีมา และการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลดีกว่าวิธีเกษตรกรที่มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และนครราชสีมา และพันธุ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร อู่ทอง 9 และอู่ทอง 10 ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์เดิมของเกษตรกร (เค95-84) ที่สีคิ้ว นครราชสีมา

          ช่วงปี 2557 - 2558 การใช้เทคโนโลยีการผลิตของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ พันธุ์ของแก่น 3 จากแปลงพันธุ์สะอาด ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและดูแลรักษาตามคําแนะนําให้ผลผลิตและผลตอลแทนดีกว่าวิธีเกษตรกรที่ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอํานาจเจริญ

          ภาคเหนือตอนล่าง นําเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และขอนแก่น 80 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มาเปรียบเทียบกับการใช้พันธุ์ที่นิยมของเกษตรกร ได้แก่ LK92-11 และ K99-72 กับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 6 จังหวัด ได้แก่ กําแพงเพชร ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 2 แปลง ระหว่างปี 2554 ถึง 2557 พบว่า การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 หรือขอนแก่น 80 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในเขตภาคเหนือตอนล่าง สามารถยกระดับผลผลิตอ้อย ความหวาน ผลผลิตน้ำตาล และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงกว่าการผลิตอ้อยของเกษตรกรร้อยละ 24 7 33 และ 19 ตามลําดับ เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีใหม่โดยเฉพาะเรื่องพันธุ์แต่ในเรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเกษตรกรบางส่วนยังไม่เข้าใจและเป็นเทคโนโลยีที่มีข้อจํากัดในการตรวจวิเคราะห์ต้องมีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยให้แก่เกษตรกรหรือนําไปปรับใช้ได้

          ภาคกลางและตะวันตก การทดสอบการจัดการโรคใบขาวอ้อยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี และอุทัยธานี สรุปได้ว่าในพื้นที่ที่โรคใบขาวไม่ระบาดรุนแรง การใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด มีการกําจัดเชื้อโดยการแช่น้ำร้อนที่ 52 องศา 30 นาที ป้องกันโรคใบขาวได้ ส่วนในพื้นที่ที่มีโรคใบขาวหนาแน่นกว่า การใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดโรคน่าจะมีความจําเป็น และการเลือกแหล่งที่มาของพันธุ์อ้อยก็มีความสําคัญเช่นกัน เพราะอาจมีเชื้อติดมากับท่อนพันธุ์ได้ ในอ้อยตอพันธุ์ขอนแก่น 3 ในพื้นที่ทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 8 ทดสอบอ้อยพันธุ์ใหม่ อู่ทอง 9 อู่ทอง 84-10 อู่ทอง 84-11 อู่ทอง 12 และขอนแก่น 3 ใน 7 สถานที่ มี 4 แปลงที่พันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปีสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ทดสอบวิธีการสางใบเพื่อลดการเผาอ้อยก่อนตัด การสางใบทําใหอ้อยมีความยาวลํามากกว่าอ้อยที่ไม่มีการสางใบเพราะใบอ้อยที่สางออกช่วยคลุมดินทําให้ดินมีความชื้น พันธุ์ขอนแก่น 3 ใช้เวลาสางใบน้อยกว่าพันธุ์ LK92-11 ผลผลิตสูงใช้เวลาสางใบมากขึ้น ดําเนินการเปรียบเทียบกรรมวิธีการผลิตอ้อยตามวิธีของเกษตรกร และเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่การจัดการดิน การจัดการพันธุ์อ้อย การปรับปรุงบํารุงดิน การจัดการวัชพืช การจัดการโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวและการดูแลอ้อยตอ ที่สุพรรณบุรีกรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรจากเกษตรกร 3 รายใน 5 รายที่ร่วมทดสอบ ที่อุทัยธานีวิธีทดสอบและวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ทําให้มีต้ นทุน รายได้ และผลตอบแทนใกล้เคียงกัน มีอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน 1.4 และ 1.3 ตามลําดับ ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่ร่วมงานมีความพึงพอใจในเทคโนโลยี

          ภาคตะวันออก พันธุ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์ของเกษตรกร (LK92-11/K88-92) จากเกษตรกร 3 ใน 5 รายที่ร่วมทดสอบ ที่จังหวัดสระก้ว เกษตรกรมีความสนใจในพันธุ์ขอนแก่น 3 เนื่องจากให้ผลผลิตสูง และพันธ์ขอนแก่น 3 อู่ทอง 9 อู่ทอง 10 อู่ทอง 84-11 ดีกว่าพันธุ์ของเกษตรกร 4 ใน5 รายที่จังหวัดชลบุรี

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยเพื่อทําน้ำตาลอ้อยในท้องถิ่น ในภาคเหนือตอนบน ปี 2554 - 2556 อ้อยสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตที่สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิมถึงร้อยละ 7 และสามารถไว้ตอได้จนถึงตอ 2 เป็นพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพเหมาะสมกับพื้นที่ ปี 2557 - 2558 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยเพื่อทําน้ำตาลอ้อยในระบบการปลูกพืชจังหวัดพะเยา เชียงใหม่ แพร่ และแม่ฮ่องสอน ปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ผลผลิตอ้อยที่ได้เฉลี่ยจากแปลงเกษตรกร ทั้งสี่จังหวัด รวม 20 ราย จากแปลงปลูกแบบแถวเดี่ยวมีผลผลิตมากกว่าการปลูกแบบแถวคู่ (12,690 กก./ไร่ เทียบกับ 11,909 กก./ไร่) เนื่องจากมีน้ำหนักลํามากกว่า แม้ว่าจะมีจํานวนต้นต่อไร่น้อยกว่า และจัดการแปลงได้สะดวกกว่าการปลูกแถวคู่ ผลผลิตอ้อยแปรรูปเป็นน้ำอ้อยก้อนได้ 1,211 – 1,236 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 37,723 - 40,490บาทต่อไร

          การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกร ได้ทําการสํารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านเทคโนโ ลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกรปี 2553 และ 2554 โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในภาคกลางได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี รวม 218 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา มุกดาหาร 170 ราย ใน 4 จังหวัดภาคกลาง มีการใช้เทคโนโลยีตามคําแนะนําของกรมฯ ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการใช้พันธุ์และการจัดการท่อนพันธุ์เกษตรกรมีการใช้ระดับต่ำ ด้านการเตรียมแปลง การปลูก การใส่ปุ๋ยมีการใช้ระดับปานกลาง ด้านการให้น้ำมีการใช้ระดับปานกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ยกเว้นอุทัยธานีที่มีการใช้น้ำอยู่ในระดับต่ํา ด้านการอารักขาพืช มีการใช้อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ไม่มีการระบาดโรค/แมลง/หนู หรือมีปริมาณน้อย ด้านการเก็บเกี่ยวประกอบด้วยอายุเก็บเกี่ย วที่เหมาะสม การเผาใบก่อนตัด การตัดชิดดิน การส่งโรงงานหลังจากตัดเสร็จในแปลง มีการใช้ระดับสูงในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ยกเว้นสุพรรณบุรี และอุทัยธานีที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง สําหรับ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมทุกด้านมีระดับการใช้ปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดการท่อนพันธุ์มีการใช้ระดับต่ำ ยกเว้นที่จังหวัดมุกดาหารมีการใช้ระดับปานกลาง ทางด้านการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว มีการใช้ระดับปานกลาง ด้านการปลูกมีการใช้ระดับสูง ยกเว้นที่จังหวัดมุกดาหารด้านการใส่ปุ๋ย มีการใช้ระดับต่ำ ด้านการอารักขาพืช มีการใช้อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้เพราะสภาพพื้นที่ไม่มีการระบาดโรค/แมลง/หนู หรือมีปริมาณน้อย

          ในปี 2555 ได้ทําการสํารวจข้อมูลจากเกษตกรในพื้นที่รอบโรงงานน้ำตาลมหาวัง และโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง แบ่งกลุ่มของเกษตกรออกตามระยะห่างจากโรงงานในแนวรัศมีเป็น 3 กลุ่มโดยให้มีระยะห่างจากโรงงานไม่เกิน 50 กิโลเมตร ผลการสํารวจพบว่าต้นทุนต่อตันอ้อยอยู่ในช่วงประมาณ 871 - 934 บาทต่อตันอ้อยในณะที่ราคาอ้อยขั้นต้นกําหมดราคารับซื้ออ้อยราคาตันละ 950 บาทที่ 10 ซีซีเอส เกษตกรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงงานจะมีต้นทุนต่ําที่สุด และต้นทุนส่วนใหญ่จะมาจากค่าขนส่ง รองลงมาคือ ค่าปุ๋ยซึ่งเป็นต้นทุนที่สามารถลดลงได้หากมีการใช้อย่างเหมาะสม

          การทดสอบเพื่อปรับใช้ชุดเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การทดสอบระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทําการเก็บผลผลิตและความชื้นดินในวันที่เก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับการตัดสินใจในการไว้ตออ้อย จํานวน 30 แปลง เปรียบเทียบกับผลที่ได้จากแบบจําลองที่ใช้พบว่า ทั้งผลผลิตและความชื้นดินระดับต่างๆ ที่ได้จากการเก็บตัวอย่างและจากการจําลองไม่มีความสัมพันธ์กัน ชี้ให้เห็นว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้ยังไม่สามารถนําไปใช้ในระดับแปลงทดลองได้ การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการป้องกันกําจัดโรคใบขาวอ้อย โดยใช้ท่อนพันธุ์สะอาดร่วมกับการจัดการสมดุลธาตุอาหาร โดยใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตและผลตอบแทนดีกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกร และเป็นโรคใบขาวลดลง ที่นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ถ้าไม่มีแปลงพันธุ์ การเลือกต้นพันธุ์ที่ไม่มีอาการโรคและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และขจัดต้นที่เป็นโรคทิ้ง ก็สามารถเพิ่มผลผลิตลัลดอาการโรคได้ และการใช้จอบหมุนทั้งสองแบบในการสับกลบใบอ้อยคือ แบบสําหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก 24 แรงม้า หรือที่เรียกว่าแบบวิ่งในร่องกับแบบสําหรับรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง 45 แรงม้า หรือที่เรียกว่าแบบวิ่งคร่อมร่อง นั้นให้ผลในเชิงประสิทธิภาพการสับกลบที่ไม่มีความแตกต่างกันแต่ในแง่การสิ้นเปลืองน้ำมันและราคาเครื่องจักรมีความแตกต่างกันคือเครื่องเล็กจะสิ้นเปลืองน้ำมันและมีราคาถูกกว่า


ไฟล์แนบ
.pdf   38_2558.pdf (ขนาด: 1.4 MB / ดาวน์โหลด: 2,171)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม