11-15-2016, 01:17 PM
การวิจัยและพัฒนาอ้อยคั้นน้้า
ดารารัตน์ มณีจันทร์, วาสนา วันดี, ปิยธิดา อินทร์สุข, จารินี จันทร์คำ, ณรงค์ ย้อนใจทัน, สุจิตรา พิกุลทอง, กนกวรรณ ฟักอ่อน, เบ็ญจมาตร รัศมีรณชัยอัมราวรรณ, ทิพย์วัฒน์ และสุคนธ์ วงศ์ชนะ
ดารารัตน์ มณีจันทร์, วาสนา วันดี, ปิยธิดา อินทร์สุข, จารินี จันทร์คำ, ณรงค์ ย้อนใจทัน, สุจิตรา พิกุลทอง, กนกวรรณ ฟักอ่อน, เบ็ญจมาตร รัศมีรณชัยอัมราวรรณ, ทิพย์วัฒน์ และสุคนธ์ วงศ์ชนะ
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยคั้นน้ำระหว่างปี 2549 - 2553 ได้คัดเลือกโคลนดีเด่นจากการผสมเปิด โดยมีแม่เป็นอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50, พันธุ์เมอริชาดเบอร์ 6, JU38 และจากคู่ผสม JU38x สพ50 และ สพ50 x JU6 จำนวน 35 โคลน คือ โคลน UTj10-01, UTj10-02, UTj10-03, UTj10-05, UTj10-06, UTj10-07, UTj10-08, UTj10-09, UTj10-10, UTj10-11, UTj10-12, UTj10-13, UTj10-14, UTj10-15, UTj10-16, UTj10-17, UTj10-18, UTj10- 19, UTj10-20,UTj10-21, UTj10-22, UTj10-23, UTj10-24, UTj10-25, UTj10-26, UTj10-27, UTj10-28, UTj10-29, UTj10-30, UTj10-31, UTj10-32, UTj10-33, UTj10-34, UTj10-35 และ UTj10-36 จากนั้นจึงนำมาศึกษาการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2554 - 2557 โดยมีอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี แล้วจึงนำโคลนอ้อยที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีจำนวน 34 โคลน มาทำการเปรียบเทียบมาตรฐาน ระหว่างปี 2555 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ซึ่งพบว่าโคลนอ้อยดีเด่นที่ให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพน้ำคั้นดีเช่นเดืยวและสูงกว่าอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 มีจำนวน 6 โคลนพันธุ์ ระหว่างนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบท้องถิ่น ในปี 2556 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา จากผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าอ้อยพันธุ์ดีเด่นทั้ง 6 โคลนพันธุ์ให้ผลผลิตและคุณภาพน้ำคั้นเป็นที่น่าพอใจจึงนำไปศึกษาในขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ระหว่างปี 2557 - 2558 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดราชบุรี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่าอ้อยโคลนพันธุ์ UTj10-2 UTj10-3 และ UTj10-19 ให้ผลผลิตและปริมาตรน้ำอ้อยสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 อีกทั้งยังให้สีน้ำอ้อยและรสชาติน้ำอ้อยคุณภาพดีเช่นเดียวกับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 อย่างไรก็ตามควรศึกษาในไร่เกษตรกรพื้นที่แหล่งปลูกอื่นเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับรองพันธุ์ต่อไป
สำหรับการศึกษาข้อมูลจำเพาะในเรื่องอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับอ้อยคั้นน้ำชุดปี 2553 นั้น พบว่าอ้อยโคลนดีเด่น 6 โคลน กับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ที่ใส่ปุ๋ยต่างกัน 5 อัตรา ในอ้อยปลูกและในอ้อยตอไม่มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในดำนผลผลิตและปริมาตรน้ำคั้น แต่พบความแตกต่างของผลผลิตและปริมาตรน้ำระหว่างโคลนดีเด่นและการใส่ปุ๋ยอัตราต่างๆ โดยในอ้อยปลูก อ้อยโคลนดีเด่น UTj10-3UTj10-15 และ UTj10-19 ให้ผลผลิตและปริมาตรน้ำอ้อยสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ส่วนการใส่ปุ๋ยในอัตราต่างๆ นั้น พบความแตกต่างในอ้อยตอ การใส่ปุ๋ย N ตามค่าวิเคราะห์ดิน P ตามค่าวิเคราะห์ดิน K ตามค่าวิเคราะห์ดิน (12-3-6) และ 1.5N-Pตามค่าวิเคราะห์ดิน-Kตามค่าวิเคราะห์ดิน (18-3-6) ให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอัตราอื่นๆ ในขณะที่การใส่ปุ๋ย N ตามค่าวิเคราะห์ดิน- P ตามค่าวิเคราะห์ดิน– K ตามค่าวิเคราะห์ดินและการไม่ใส่ปุ๋ย จะให้รสชาติน้ำอ้อยดีกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราอื่นๆ ส่วน การศึกษาและสำรวจการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย ในอ้อยโคลนดีเด่น 6 โคลนพบว่า หนอนกอเข้าทำลายมากในระยะอ้อยแตกกอ และระยะอ้อยย่างปล้อง และลดน้อยลงในระยะอ้อยเป็นลำตามลำดับ และพบหนอนกอที่เข้าทำลาย 2 ชนิด ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก และหนอนกอสีขาว ส่วนผลการประเมินความต้านทานต่อโรคบนอ้อยลูกผสมสำหรับคั้นน้ำ จำนวน 6 โคลน เปรียบเทียบกับพันธุ์ LK92-11 และ Marcos ทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอ พบว่าอ้อยปลูกเริ่มแสดงอาการแส้ดำเมื่ออายุ 4 เดือน พันธุ์อ้อยทดสอบทั้งหมดยกเว้นโคลน 7 และ 2 ต้านทานและค่อนข้างต้านทานต่อโรคแส้ดำตามลำดับ