ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
#1
ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
วิลาสลักษณ์ ว่องไว, สันติ โยธาราษฎร์, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, ศิริพร หัสสรังสี, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ทวีพงษ์ ณ นำน, นัด ไชยมงคล และสมคิด รัตนบุรี
สวพ1., ศวพ.นำน, ศวพ.กส.ชร. และศกร.

          การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนดำเนินการที่สวนยางของเกษตรกร จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหมํ ระหว่างปี 2554 - 2556 เพื่อหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสำหรับยางพาราทั้งช่วงก่อนเปิดกรีด และหลังเปิดกรีด คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานวิจัย จังหวัดละ 8 ราย รวม 24 ราย เป็นยางก่อนเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย หลังเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย สำรวจสภาพพื้นที่ การปลูกยาง การจัดการปุ๋ยยางพาราของเกษตรกร เก็บตัวอยำงดิน วิเคราะห์สมบัติทางเคมี นำไปประเมินระดับธาตุอาหารและทดสอบการใช้ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน โดยการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง อัตราตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง (2554) เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร จากผลการดำเนินงานในยางพาราก่อนการเปิดกรีดพื้นที่จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ พบว่า การใสํปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน ทำให้ยางมีการเจริญเติบโต วัดจากเส้นรอบลำต้น เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลอง 14.87 เซนติเมตรหรือเฉลี่ย 7.44 เซนติเมตรต่อปี มากกว่าการใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 1.8 แต่ลดต้นทุนคำปุ๋ยได้ ร้อยละ 16.2 หรือไร่ละ 202 บาทต่อปี ส่วนยางหลังการเปิดกรีด การใส่ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดินจะให้ผลผลิตยางสูงกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกรทั้ง 2 ปีการทดลอง โดยได้ผลผลิตสูงกว่า ร้อยละ 10.1 4.11 และ 4.6 สำหรับจังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ ตามลำดับ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 6.27 รายได้เพิ่มขึ้น 2,060 บาทต่อไร่ ผลผลิตยาง ปี 2555 ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตมากกว่าในปี 2554 โดยแปลงปลูกยางพันธุ์ RRIT 251 ให้ผลผลิตสูงสุด 627 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อใส่ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน เปรียบเทียบกับ 563 กิโลกรัม/ไร่/ปีเมื่อใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สามารถพัฒนาเป็นแปลงตัวอย่างการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับยางพารา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรได้ ผลผลิตยางจากจังหวัดพะเยามีค่าเฉลี่ยมากกว่า ผลผลิตยางจากจังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของพืช โดยทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อน พิจารณาใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับคำวิเคราะห์ดินเพื่อทำให้ยางมีการเจริญเติบโตดีได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วย


ไฟล์แนบ
.pdf   283_2556.pdf (ขนาด: 633.43 KB / ดาวน์โหลด: 397)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม