ชีววิทยา การเข้าทำลาย ฤดูกาลระบาดของแมลงวันทองชนิด Bactrocera cucurbitae (Coquillet)
#1
ชีววิทยา การเข้าทำลาย ฤดูกาลระบาดของแมลงวันทองชนิด Bactrocera cucurbitae (Coquillet)
สัญญาณี ศรีคชา, วิภาดา ปลอดครบุรี และยุวรินทร์ บุญทบ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการสำรวจและเก็บรวบรวมผลพืชตระกูลแตงที่ถูกแมลงวันทองเข้าทำลาย ในจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา และสุพรรณบุรี พบแมลงวันทอง 2 ชนิด ลงทำลาย คือ B. cucurbitae และ B. tau การศึกษาวงจรชีวิตของแมลงวันทองชนิด Bactrocera cucurbitae (Coquillett) ในห้องปฏิบัติการโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23.10±1.27 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 91.07±0.25 เปอร์เซ็นต์ พบว่าตัวเต็มวัยเพศเมียจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 14 วัน โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มๆ ละ 2 - 3 ฟอง ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 376 - 453 ฟอง มีเปอร์เซ็นต์การฟัก 78% ระยะไข่ 3 - 4 วัน หนอนมี 3 ระยะ ระยะหนอน 8 - 9 วัน ระยะดักแด้ 9-10 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียอายุ 79 - 120 วัน และตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 86 - 132 วัน การศึกษาช่วงฤดูการระบาดของแมลงวันทองชนิด B. cucurbitae ในแปลงปลูกแตงกวา บวบหอม และมะระ โดยใช้สารล่อชนิด Cur-lure ในกับดักแบบ Steiner พบว่าแมลงวันทองชนิด B. cucurbitae เข้าทำลายพืชทั้งสามชนิดได้


ไฟล์แนบ
.pdf   177_2556.pdf (ขนาด: 430.7 KB / ดาวน์โหลด: 1,192)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม