08-05-2016, 03:35 PM
การศึกษาประสิทธิภาพของสารชีวินทรีย์ในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน
ศรุต สุทธิอารมณ์, เกรียงไกร จำเริญมา, วิภาดา ปลอดครบุรี และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศรุต สุทธิอารมณ์, เกรียงไกร จำเริญมา, วิภาดา ปลอดครบุรี และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาประสิทธิภาพของสารชีวินทรีย์ในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2552 ในสวนทุเรียนเกษตรกร จังหวัดตราดที่มีการทำลายของหนอนเจาะลำต้นทุเรียน จำนวน 1 แปลง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น 7 กรรมวิธี เปรียบเทียบไส้เดือนฝอย 3 ชนิด ได้แก่ Steinernema carpocapsae, S. glaseri และ S. riobrave ชนิดละ 2 อัตรา คือ 50, 100, 10, 20, 50 และ 100 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่าพบว่า ไส้เดือนฝอยทุกชนิดมีผลทำให้หนอนเจาะลำต้นทุเรียนตายแต่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเฉลี่ย 11.70 %