วิจัยการใช้หนอนตายหยากและหางไหลเพื่อกำจัดหนูศัตรูพืช
#1
วิจัยการใช้หนอนตายหยากและหางไหลเพื่อกำจัดหนูศัตรูพืช
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา, รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา และพรรณีกา อัตตนนท
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร

          ระหว่างเดือนตุลาคม2551 – กันยายน 2552 ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก DOA กับหนูพุกใหญ่ โดยสุ่มให้หนอนตายหยาก DOA (4.78 % alkaloid) อัตรา 100, 120, 140, 180 และ 240 พีพีเอ็ม และน้ำกลั่นเป็นตัวเปรียบเทียบกับหนูพุกใหญ่ที่ดักมาจากสภาพไร่อัตราละ 10 ตัว โดยให้สารละลายหนอนตายหยากทางปากลงสู่กระเพาะ ผลการทดสอบสารสกัดหนอนตายหยากอัตรา 100, 120, 140, 180 และ 240 พีพีเอ็ม มีผลทำให้หนูพุกใหญ่ตาย 30, 40, 40, 50 และ 100 % ตามลำดับ และค่าความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของหนอนตายหยากกับหนูพุกใหญ่มีค่า 142.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Table1, 2 และ Figure1) เมื่อทดสอบให้สารสกัดหนอนตายหยากอัตรา 100, 170 และ 200 พีพีเอ็มกับหนูท้องขาวบ้านมีผลทำให้หนูท้องขาวบ้านตาย 40, 50, 50 % ตามลำดับ และไม่มีหนูตายในกลุ่มเปรียบเทียบ แต่ยังไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้จึงได้ดำเนินการต่อในปี 2553


ไฟล์แนบ
.pdf   1165_2552.pdf (ขนาด: 152.63 KB / ดาวน์โหลด: 801)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม