08-03-2016, 04:24 PM
การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และธารทิพย ภาสบุตร
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และธารทิพย ภาสบุตร
การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (รา Paecilomyces lilacinus) และศัตรูธรรมชาติใน Order rhabditida (Steinernema siamkayai และ Mononchus sp.) ควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สาเหตุของโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว ทำการทดสอบในสภาพไร่ที่ปลูกในบล็อกวงซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. ในสภาพดินปลูกเป็น infested soil ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนลำปาง จ.ลำปาง โดยนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติ รองก้นหลุมก่อนปลูกกระเจี๊ยบเขียว และใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติอีก 2 ครั้ง เมื่อพริกอายุ 45 และ 60 วัน ทำการวัดดัชนีการเกิดปมที่ระบบราก ผลการทดสอบพบว่า การใช้รา P. lilacinus ที่อัตรา 10 และ 50 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สามารถลดการเกิดปมได้ 50 - 75 % ของระบบรากและการใช้ S. siamkayai ที่อัตรา 5 ล้านตัวต่อต้น ลดการเกิดปมได้ 25-50 % ของระบบราก ส่วนไส้เดือนฝอย Mononchus sp. ในอัตรา 500 ตัวต่อต้น ไม่สามารถลดการเกิดปมได้เมื่อเปรียบเทียบกับ inoculated control