การแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องสางใบอ้อย
#1
การแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องสางใบอ้อย
อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, นริศร ขจรผล, ชุมพล คำสิงห์, สุกรี นันตะสุคนธ์ และสนิท สมเหมาะ

          สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวไร่อ้อยมีการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว คือ การขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวและต้องเร่งเก็บเกี่ยวอ้อย เพราะว่า ช่วงเปิดหีบอ้อยแต่ละปีมีเวลาเพียง 4 เดือน ถ้าเก็บเกี่ยวล่าช้าจะเสี่ยงต่อการมีฝนตกในช่วงเก็บเกี่ยว ประกอบกับแรงงานตัดอ้อยต้องการตัดอ้อยไฟไหม้ เพราะว่าสามารถตัดอ้อยไฟไหม้ได้รวดเร็วกว่าทำให้มีรายได้มากกว่าการตัดอ้อยสด 2 - 3 เท่า ในขณะที่รถตัดอ้อยสดมีจำนวนไม่เพียงพอ อีกทั้งมีราคาแพงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชาวไร่อ้อยคือการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว แต่ผลเสียที่ตามมาคือสูญเสียผลผลิตน้ำหนักลำอ้อยและคุณภาพของน้ำอ้อยลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลลดลงอย่างมาก ทั้ง Pol Extraction และ Boiling House Efficiency น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้มีเด็กแตรน (Dextran) ปนเปื้อนมาก (กล้าณรงค์ ศรีรอต, 2546) ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ดินแน่นทึบ มีการระบาดของหนอนกอในอ้อยตอมาก (ประภาส และคณะ 2531, และ Metcalfe, 1969) เมื่อไม่มีใบอ้อยคลุมดินในอ้อยตอทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช และให้น้ำอ้อยตอเพิ่มขึ้น (อรรถสิทธิ์ และคณะ, 2537) ผลผลิตอ้อยตอลดลงเมื่อเทียบกับอ้อยตอที่ตัดสด ซึ่งมีใบอ้อยคลุมดิน (อรรถสิทธิ์ และคณะ 2534) อีกทั้งการเผาใบอ้อยเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการที่จะช่วยให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด วิธีการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการเผาใบอ้อย คือ การสางใบอ้อยที่แก่และแห้งก่อนการเก็บเกี่ยว จะช่วยให้การตัดอ้อยสดเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีชาวไร่บางราย ทำการสางใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวแต่เครื่องมือที่ใช้สางใบอ้อยยังไม่เหมาะสม คือ ใช้มีดตัดอ้อยหรือมีดขอ ซึ่งมักทำความเสียหายให้กับลำอ้อยและสางใบอ้อยได้ช้า ทำให้เสียค่าจ้างสูง ไม่จูงใจให้เกษตรกรปฏิบัติ เพราะว่าขาดเครื่องมือที่จะช่วยสางใบอ้อยได้เร็วและใช้แรงงานน้อย จากข้อมูลของ บริษัทโกลบัล ไดนามิค (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ระบุว่า มีเครื่องมือที่ช่วยในการสางใบอ้อย คือ มีดสางใบอ้อย และเครื่องสางใบอ้อย จึงได้รูปแบบของมีดสางใบอ้อย และแนวคิดในการสร้างเครื่องสางใบอ้อย ซึ่งเป็นเครื่องสางใบอ้อยติดท้ายรถแทรกเตอร์สามารถสางใบอ้อยได้แถวเดียว ซึ่งเป็นแถวที่อยู่ด้านนอกสุด เป็นลักษณะการทำงานร่วมกันกับรถตัดอ้อยเป็นลำของอัฟริกาใต้ คือ สางใบอ้อย 1 แถว ตัดอ้อยตาม 1 แถว ไม่เหมาะสมกับวิธีการเก็บเกี่ยวในประเทศไทยที่ใช้แรงงานคนหลายคนตัดอ้อยในเวลาเดียวกัน ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีจึงได้วิจัยค้นคว้าหาเครื่องมือที่ช่วยให้การสางใบอ้อยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถสางใบอ้อยในแถวอ้อยที่อยู่ด้านในได้ เพื่อที่สามารถสางใบอ้อยล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อคนงานตัดอ้อยสามารถตัดอ้อยได้พร้อมกันทั้งไร่


ไฟล์แนบ
.pdf   890_2551.pdf (ขนาด: 1.79 MB / ดาวน์โหลด: 6,719)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม