06-29-2016, 11:54 AM
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรและสกุลว่านอึ่งคุณภาพดี
การทดลองย่อย ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรและสกุลว่านอึ่ง
มะนิต สารุณา, ชำนาญ กสิบาล, วราภรณ์ อุดมดี, สภาภรณ์ สาชาติ และจงวัฒนา พุ่มหิรัญ
การทดลองย่อย ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรและสกุลว่านอึ่ง
มะนิต สารุณา, ชำนาญ กสิบาล, วราภรณ์ อุดมดี, สภาภรณ์ สาชาติ และจงวัฒนา พุ่มหิรัญ
การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกร และสกุลว่านอึ่งดำเนินการทดลองเดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2551 กล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรใช้ลิ้นมังกรดอกสีชมพูและดอกสีเหลืองเป็นพันธุ์ทดลอง วางแผนการทดลองแบบ CRD มีวัสดุปลูกเป็นกรรมวิธีมี 9 กรรมวิธี โดยกรรมวิธีที่ 1 - 3 ใช้ขุยมะพร้าว:ทราย:แกลบดำ:ดินร่วน + ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 0.5:0.5:1:1, 0.5:0.5:1:2, 0.5:0.5:2:1 กรรมวิธีที่ 4 - 6 ใช้ทราย:แกลบดำ:พีทมอส: สเปกกรั๊มมอส อัตราส่วน 1:1:1:1, 1:1:1:0 และ 1: 1:0:1 กรรมวิธีที่ 7 - 9 ใช้ แกลบดำ:พีทมอส:สเปก กรั๊มมอส: ดินร่วน + ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:1,1:0:1:1 และ 1:1:0:1 จำนวน 8 ซ้ำ และกล้วยไม้สกุลว่านอึ่งใช้ว่านอึ่งเป็นพันธุ์ทดลอง มีวัสดุปลูก 7 กรรมวิธี โดยใช้ ขุยมะพร้าว:ทราย:แกลบดำ:ปุ๋ยคอก+ดินร่วน กรรมวิธีที่ 1 อัตราส่วน 0.5:0:1:1 กรรมวิธีที่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 อัตราส่วน 0:0.5:1:1, 0.5:0.5:1:1, 0.5:0.5:2:1, 0.5:0.5:1:2, 0.5:0.5:2:2 และ 0.5:0.5:3:2 จำนวน 20 ซ้ำ พบว่ากล้วยไม้ลิ้นมังกรดอกสีชมพู กรรมวิธีที่ 7 คือ ใช้ให้จำนวนหัวต่อกระถางความยาวหัว เส้นผ่าศูนย์กลางหัว และความกว้างใบสูงที่สุด ส่วนอายุการแทงช่อดอกนับจากวันแทงยอด อายุการเหี่ยวดอกแรกนับจากวันแทงยอด อายุการเหี่ยวของดอกสุดท้ายนับจากวันแทงยอด ความยาวของช่อดอก ความกว้างของกลีบปาก ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบต่อต้น ความยาวใบ ไม่แตกต่างกันทุกกรรมวิธี ในกรรมวิธีที่ 6 มีจำนวนดอกต่อช่อต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด และกรรมวิธีที่ 2 มีความยาวก้านดอก ความยาวกลีบบนสูงที่สุด และกรรมวิธีที่ 9 มีความยาวกลีบนอกคู่ล่างยาวที่สุด ลิ้นมังกรดอกสีเหลือง กรรมวิธีที่ 1 มีจำนวนหัวต่อกระถาง ความยาวหัว ความกว้างใบ จำนวนใบต่อต้นสูงที่สุด กรรมวิธีที่ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางหัว ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวใบสูงที่สุด กล้วยไม้ว่านอึ่งมีจำนวนหัวแม่ต่อกระถาง จำนวนหัวลูกต่อกระถาง ความยาวหัวแม่ ความยาวหัวลูก เส้นผ่าศูนย์กลางหัวแม่ จำนวนรากต่อหัว ความยาวราก น้ำหนักหัวไม่แตกต่างกันทุกกรรมวิธี และกรรมวิธีที่ 1 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง หัวลูกเฉลี่ยสูงที่สุด และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราก กรรมวิธีที่ 7 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรากเฉลี่ยมากที่สุด