การศึกษาผลผลิตไม้ อัตราการแปรรูป คุณภาพและสมบัติของไม้ยางพาราพันธุ์แนะนำ 4 พันธุ์
#1
การศึกษาผลผลิตไม้ อัตราการแปรรูป คุณภาพและสมบัติของไม้ยางพาราพันธุ์แนะนำ 4 พันธุ์
กฤษดา สังข์สิงห์, กฤษดา สังข์สิงห์ พิเชษฐ ไชยพานิชย์ และนุชนาฏ ณ ระนอง
ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 สุราษฎร์ธานี

          การศึกษาผลผลิตไม้ อัตราการแปรรูป คุณภาพ และสมบัติของไม้ยางพาราพันธุ์แนะนำซึ่งมีปลูกมากในประเทศไทย 4 พันธุ์ ได้แก่ RRIM 600, BPM 24, RRIT 251 และ PB 235 ขณะอายุ 14 ปี จากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ นำมาเลื่อยแปรรูปที่โรงงานแปรรูปไม้ยางและศึกษาคุณภาพ ภายในศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณศึกษาผลผลิตไม้ อัตราการแปรรูป คุณภาพและสมบัติของไม้ผลการศึกษาพบว่า ยางพันธุ์ PB 235 ให้น้ำหนักสดของไม้ทั้งต้นมากกว่าพันธุ์ RRIM 600, RRIT 251 และ BPM 24 ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ แต่ให้ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้ว สำหรับใช้แปรรูปมากกว่าอีก 3 พันธุ์ถึง 2 เท่า ในขนาดต้นที่เท่ากัน ต้นยางพันธุ์ RRIM 600 และ BPM 24 ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นต่ำกว่า 80 เซนติเมตร ให้ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้ว มากกว่าไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 นิ้ว ในทางกลับกันเมื่อต้นยางมีขนาดเส้นรอบวงลำต้นมากกว่า 80 เซนติเมตร จะให้ไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้ว น้อยกว่าไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 นิ้ว ส่วนพันธุ์ RRIT 251 ให้ไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้ว น้อยกว่าไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 นิ้ว ในทุกขนาดต้น แต่พันธุ์ PB 235 ให้ไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้วมากกว่าไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 นิ้ว ในทุกขนาดต้นเช่นกันการทดลองนี้ได้สมการในการประเมินน้ำหนักสดของไม้สำหรับยางแต่ละพันธุ์ โดยใช้เส้นรอบวงลำต้นเพียงตัวแปรเดียว โดยการใช้สมการ Power regression ในการประเมินน้ำหนักรวมทั้งต้น สมการ Linear ในการประเมินไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 นิ้ว และสมการ Exponential ในการประเมินไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 6 นิ้ว ของยางพาราเป็นรายต้น อัตราการแปรรูปไม้คือปริมาตรไม้แปรรูปที่ได้ต่อปริมาตรไม้ท่อนที่นำมาเลื่อย ยางพันธุ์ RRIT 251 ให้อัตราการแปรรูปสูงสุด รองลงมาคือ RRIM 600 และ PB 235 ตามลำดับ ส่วนยางพันธุ์ BPM 24 มีอัตราการแปรรูปต่ำสุด เนื่องจากมีตำหนิของตาในเนื้อไม้ ไม้ท่อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากมีแนวโน้มให้อัตราการแปรรูปมากขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อศึกษาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม้ท่อนกับน้ำหนักไม้แปรรูป และปีกไม้พบว่า ในไม้ท่อนขนาดเล็กให้สัดส่วนของปีกไม้มากกว่าไม้แปรรูป แต่ในไม้ท่อนขนาดโตมากกว่า 11 - 12 นิ้ว จะได้สัดส่วนไม้แปรรูปมากกว่าปีกไม้


ไฟล์แนบ
.pdf   641_42551.pdf (ขนาด: 1.04 MB / ดาวน์โหลด: 785)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม