การชักนำให้ต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูฝน
#1
การชักนำให้ต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูฝน
พิจิตร ศรีปินตา, สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง, อนันต์ ปัญญาเพิ่ม, จันทร์เพ็ญ แสนพรหม, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, อนรรค อุปมาลี และศิริพร หัสสรังสี

          การศึกษาการชักนำต้นลำไยออกดอกและติดผลในฤดูฝน ณ สวนเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ทั้งในสภาพที่ลุ่มและที่ดอน ปีพ.ศ. 2549 - 2551 โดยวางแผนการทดลองแบบ 3 x 3 Factoria in RCB จำนวน 3 ซ้ำ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 วิธีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มี 3 วิธีการ ได้แก่ วิธีการผสมน้ำราดลงดินบริเวณทรงพุ่ม หว่านลงดินบริเวณทรงพุ่ม และฝังกลบในดินรอบชายพุ่ม ปัจจัยที่ 2 ความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรตมี 3 อัตรา ได้แก่ 50, 100 และ 150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ผลการทดลองพบว่า ปีที่ 1 (ในสภาพฝนตกหนัก) การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตโดยวิธีการหว่านบริเวณทรงพุ่ม และการฝังกลบบริเวณชายพุ่มจะมีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และผลผลิตต่อต้นมากกว่าวิธีการผสมน้ำราดบริเวณทรงพุ่มทั้งในสภาพที่ลุ่มและที่ดอน และความเข้มข้นของสารโพแทสเซียมคลอเรตความเข้มข้นสูง ได้แก่ อัตรา 100 และ 150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 1 เมตร มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และผลผลิตต่อต้นมากกว่าความเข้มข้นต่ำ (50 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 1 เมตร) ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน สำหรับในปีที่ 2 และ 3 (สภาพฝนตกน้อยถึงปานกลาง) พบว่าการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตแบบผสมน้ำราดบริเวณทรงพุ่ม และการหว่านบริเวณทรงพุ่ม มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกเปอร์เซ็นต์การติดผลดีกว่าการฝังกลบบริเวณชายพุ่ม และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตความเข้มข้นสูง (อัตรา 100 - 150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร) มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก และการติดผลดีกว่าการให้สารฯ ความเข้มข้นต่ำ


ไฟล์แนบ
.pdf   1016_2551.pdf (ขนาด: 940.84 KB / ดาวน์โหลด: 516)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม