06-28-2016, 01:56 PM
ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพนาอินทรีย์
บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, อารีรัตน์ พระเพชร, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, นาตยา จันทร์ส่อง, สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว
บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, อารีรัตน์ พระเพชร, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, นาตยา จันทร์ส่อง, สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว
เพื่อศึกษาความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตงาอินทรีย์ในสภาพนา จึงทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ 1) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 3 วัน 2) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน 3) พ่นน้ำหมักปลา (หรือหอยเชอรี่) ทุก 3 วัน 4) พ่นน้ำหมักปลา ทุก 7 วัน และ 5) ไม่ใช้น้ำหมักใดๆ ก่อนปลูกปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ ไถกลบก่อนปลูก 15 วันทุกกรรมวิธี กรรมวิธีที่ใช้น้ำหมักพ่นน้ำหมักสมุนไพรควบคู่กัน ในอัตราส่วนต่อน้ำเท่าๆ กัน คือ 1: 200 เริ่มพ่นเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก และหยุดเมื่ออายุ 70 วันหลังงอก ทดลองใน 4 สถานที่ ได้แก่ ศวร.เชียงใหม่ ศวร.อุบลราชธานี ศบป.สุโขทัย และศวส.เพชรบุรี ระหว่างปี 2549-2551 โดยใช้แปลงที่เว้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และใช้แปลงเดิมทุกปี ปลูกงาในเดือนก.พ. บันทึกข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต คุณภาพผลผลิต โรคและแมลงศัตรู และต้นทุนการผลิต ผลการทดลองพบว่าทั้ง 4 สถานที่ การใช้น้ำหมักผลไม้และปลาทุก 7 วันให้ผลผลิตสูงโดยที่ศวร.ชม. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 55.0 และ 80.1 กก./ไร่ ส่วนที่ศวร.อุบลฯ เฉลี่ย 142.1 และ 133.5 กก./ไร่ ที่ ศบป.สุโขทัย เฉลี่ย 196.3 และ 199.0 กก./ไร่ และที่ศวร.เพชรบุรี ผลผลิต 73.8 และ 63.6 กก./ไร่ เมื่อใช้น้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน และน้ำหมักปลาทุก 7 วันตามลำดับ และให้ผลในการป้องกันการเกิดโรคยอดฝอยได้บ้าง โดยไม่พบมากนักแต่ยังไม่มีผลป้องกันโรคไหม้ดำ (Ralstonia solanacearum) เพราะการระบาดของโรคขึ้นอยู่กับสภาพฝนฟ้าอากาศมากกว่า ส่วนด้านแมลงศัตรูสามารถป้องกันได้ดี ไม่มีปัญหาทำให้สูญเสียผลผลิต และยังให้ %น้ำมัน และโปรตีนในเมล็ดงาสูงกว่าไม่ใช้น้ำหมัก (ให้ % น้ำมัน 31.6% และโปรตีน 21.8% ที่ศวร.อุบลราชธานี) รวมทั้งให้ผลกำไรสุทธิสูงกว่าการพ่นน้ำหมักทุก 3 วัน