การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
#1
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ศรีวิเศษ เกษสังข์,วันเพ็ญ ศรีชาติ, ชลธิชา รักใคร่ และวานิช คำพานิช
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ทานตะวัน (Helianthus annuus L.) มีศัตรูพืชที่เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของทานตะวันมีศัตรูพืชทั้งสิ้น 250 ชนิด คือ จัดเป็นแมลง 120 ชนิด ไรและแมงมุม 2 ชนิด ไส้เดือนฝอย 12 ชนิด เชื้อรา 40 ชนิด แบคทีเรีย 11 ชนิด ไวรัส 5 ชนิด วัชพืช 58 ชนิด และหอยทาก 1 ชนิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชกับเมล็ดพันธุ์ทานตะวันในห้องปฏิบัติการ โดยการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน ที่นำเข้าระหว่างเดือน ตุลาคม 2554 – กันยายน 2556 จาก 9 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สเปน และเยอรมัน รวม 69 ตัวอย่าง มาทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยสายตา (Visual inspection) และภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า เมล็ดทานตะวันที่นำเข้า ไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือการปนเปื้อนของวัชพืช จากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคพืชกับเมล็ดพันธุ์ทานตะวันในห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี Blotter method ตรวจพบเชื้อรา Alternaria tenuis, Alternaria raphani, Cladosporium sp. Ulocladium sp. Fusarium semitectum, Chaetomium sp. Curvularia pallescens และ Streptomyces sp. และจากการนำเข้าเมล็ดทานตะวัน มาตรวจสอบด้วยวิธี Dilution method ไม่พบเชื้อแบคทีเรียเชื้อสาเหตุโรคพืชและเมื่อนำเมล็ดมาปลูกสังเกตอาการโรค (Seedling symptom test) ในโรงปลูกพืช ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นทานตะวัน ดังกล่าว และเมื่อติดตามตรวจสอบโรคและศัตรูพืชในท้องที่จังหวัดสระบุรี และลพบุรี ตรวจพบโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Alternaria tenuis โรคราแป้งข้าว เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. และโรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรา Puccinia sp.และในแปลงปลูกจังหวัดเชียงใหม่ ตรวจพบอาการต้นเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum และอาการใบด่าง ซึ่งศัตรูพืชที่พบในเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าและตรวจพบในแปลงปลูกไม่ใช่เชื้อโรคและศัตรูพืชที่สำคัญทางกักกันพืชของประเทศไทย
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม