การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ฟักทอง สคว๊อช และแว๊กกราวด์ที่นำเข้า
#1
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ฟักทอง สคว๊อช และแว๊กกราวด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
วันเพ็ญ ศรีชาติ, ศรีวิเศษ เกษสังข์, ชลธิชา รักใคร่, วานิช คำพานิช และโสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ฟักทอง (Pumpkin and Squash) ข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของฟักทอง มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 295 ชนิด คือ เชื้อรา 58 ชนิด แบคทีเรีย 12 ชนิด ไวรัส 21 ชนิด ไฟโตพลาสมา 1 ชนิด ไส้เดือนฝอย 12 ชนิด แมลง 163 ชนิด ไร 17 ชนิด ทาก 2 ชนิด และวัชพืช 9 ชนิด และจากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ฟักทองและสคว๊อชจาก 16 ประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ชิลี ฝรั่งเศส เม็กซิโก บราซิล อิตาลี ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เนเธอร์แลนด์ เกาหลี เปรู และ ไต้หวัน มาทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่าและภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า ลักษณะเมล็ดพันธุ์ฟักทองและสคว๊อช มีสีขาว เมล็ดสมบูรณ์ สะอาด ไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือร่องรอยของเชื้อโรคศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สะอาด ปิดมิดชิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชขั้นละเอียดที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ฟักทองและสคว๊อช ในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method พบเชื้อรา จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ Alternaria tenuis, Cladosporium sp., Chaetomium sp., Curvularia lunata, Curvularia pallescens, Dreshlera halodes, Fusarium semitectum, Fusarium solani, Ghaphium sp., Macrophomina sp. และ Phoma sp. และจากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์แว๊กกราวด์ที่นำเข้าจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่นและไต้หวัน มาตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชขั้นละเอียดในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method พบเชื้อรา จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Curvularia lunata, Curvularia pallescens และ Macrophomina sp. แต่จากการนำเมล็ดพันธุ์ฟักทอง สคว๊อชและแว๊กกราวด์ มาตรวจด้วยวิธี Dilution technique ไม่พบเชื้อแบคทีเรียที่น่าสงสัยจะเป็นเชื้อก่อโรคกับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว และเมื่อนำเมล็ดพันธุ์ปลูกสังเกตอาการของโรคบนต้นพืชในโรงเรือน (Seedling symptom) ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นฟักทอง คว๊อช และแว๊กกราวด์ ลักษณะต้นเจริญสมบูรณ์ไม่แสดงอาการโรคพืช ซึ่งจากการตรวจเอกสารและการสังเกตเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากบางประเทศ มีการคลุกสารเคมีฆ่าเชื้อรา ได้แก่ Thiram หรือ Captan หรือคลุกสารเคมีทั้ง 2 ชนิดกับเมล็ดพันธุ์นำเข้าอัตราการใช้ 85 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์น้ำหนัก 45 กิโลกรัม และผลการติดตามตรวจสอบศัตรูพืชในแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ฟักทองและสคว๊อชนำเข้าจากต่างประเทศ ในภาคเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่านและลำพูน และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัดได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู และขอนแก่น พบอาการโรคบนใบของฟักทองและสคว๊อช จำนวน 5 โรค ได้แก่ โรคราน้ำค้างเชื้อสาเหตุ Pseudoperonospora cubensis โรคราแป้ง เชื้อสาเหตุ Oidium sp. โรคใบจุด เชื้อสาเหตุ Cercospora citrullina โรคใบแห้ง เชื้อสาเหตุ Corynespora melonis โรคใบจุดแบคทีเรีย เชื้อสาเหตุ sp. อาการที่พบบนผล จำนวน 1 โรค ได้แก่ โรคผลเน่า เชื้อสาเหตุ Choanephora cucurbitarum อาการที่พบที่โค่นต้น จำนวน 1 โรค ได้แก่ โรคเหี่ยว เชื้อสาเหตุ Fusarium semitectum และ Fusarium oxysporum ซึ่งศัตรูพืชที่พบทั้งในเมล็ดพันธุ์นำเข้าและตรวจสอบโรคในแปลงปลูก ไม่ใช่ศัตรูพืชด้านกักกันพืชของประเทศไทย
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม