05-19-2016, 04:14 PM
ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Diamond back moth); Plutellaxylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย
สุชาดา สุพรศิลป์, สุภางคนา ถิรวุธ, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สุชาดา สุพรศิลป์, สุภางคนา ถิรวุธ, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (diamond back moth); Plutellaxylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย การทดลองที่ 1 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่ม diamide ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตราสารออกฤทธิ์ 6.4 - 9.6, 8 - 12, 9.6 - 14.4, 11.2 - 16.8 และ 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร สำหรับการทดลองนี ผลการทดลองยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนเนื่องจากปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น และมีโรคระบาด แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองที่ได้พบว่าสารกลุ่ม diamide ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในพื้นที่ที่ทำการทดลอง การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2555 เมื่อคะน้าอายุ 25 - 35, 35 - 45 และ 45 - 55 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 และ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 9.6 - 14.4 กรัม a.i./ ไร่ และอัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 3 และ 4 พ่นสาร chlorantraniliprole (Prevathon 5 . 17% SC) อัตรา 8.3 - 12.6 กรัม a.i./ไร่ และอัตรา 12.4 - 18.6 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ และกรรมวิธีที่ 6 ไม่พ่นสาร ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผัก และให้ผลิตคุณภาพดีมากกว่าสารกลุ่ม diamide การทดลองที่ 3 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2556 เมื่อคะน้าอายุ 25 - 35, 35 - 45 และ 45 - 55 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ และกรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 1-3 พ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย (LV) ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ส่วนกรรมวิธีที่ 4 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8-19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 4-6 พ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบน้ำมาก (HV) ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูงประกอบหัวฉีดแบบปรับมุมพ่นได้ และกรรมวิธีที่ 7 ไม่พ่นสาร จากผลการทดลองพบว่า พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก แต่มีต้นทุนรวมในการพ่นสารสูงที่สุด 9,000 บาท/ไร่/5ครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลทางสถิติกรรมวิธีพ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ มีต้นทุนรวมในการพ่นสาร 6,000 บาท/ไร่/5ครั้ง ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่แตกต่างกัน ส่วนกรรมวิธีพ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ ซึ่งมีต้นทุนรวมน้อยที่สุด 5,184 บาท/ไร่/5ครั้ง สำหรับวิธีการพ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบ LV และ HV ให้ผลในการป้องกันกำจัดไม่แตกต่างกัน แต่วิธีพ่นสารแบบ LV ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า