การศึกษาช่วงเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat ในการกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ และใบกว้าง
#1
การศึกษาช่วงเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat ในการกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ และประเภทใบกว้าง
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย และนงลักษณ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          การศึกษาช่วงเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat dichloride 27.6% W/V SL ในการกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและประเภทใบกว้างในข้าวโพด วางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 9 กรรมวิธี ประกอบด้วย ช่วงเวลาการใช้สาร paraquat dichloride 27.6% W/V SL อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ระยะ 2, 3, 4, 5, 6 สัปดาห์หลังข้าวโพดงอก เปรียบเทียบกับสาร alachlor 48% W/V EC อัตรา 300 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สาร atrazine 80% WP อัตรา 300 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน และวิธีไม่กำจัดวัชพืช ทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2554 – กันยายน 2556 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี จังหวัดลพบุรี พบว่าช่วงเวลาการใช้สาร paraquat dichloride 27.6% W/V SL อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ หลังข้าวโพดงอกเป็นพิษต่อข้าวโพดเล็กน้อยถึงปานกลางในระยะ 7 วัน และความเป็นพิษลดลงที่ระยะ 30 วันหลังการใช้ ส่วนประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชที่ระยะ 7, 15 และ 30 วันหลังพ่นสาร พบว่า ช่วงเวลาการใช้สาร paraquat dichloride 27.6% W/V SL อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ที่ 3 และ 4 สัปดาห์ หลังข้าวโพดงอก มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าตีนกา (Eleusine indica (L.) Gaertn) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link.) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.) Scop.) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium (L.)P. Beauv.) วัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ ผักเบี้ยหิน(Trianthema portulacustrum L.) ผักโขมหิน (Boerhavia erecta L.) และลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus Schum&Thonn.) ได้ดี อีกทั้งยังไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวโพด
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม