05-18-2016, 04:03 PM
การคัดเลือกสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Diamond back Moth); Plutella xylostella Linnaeus
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก Plutella xylostella Linnaeus (Plutellidae: Lepidoptera) ในคะน้า โดยทำการทดลองในแปลงผักของเกษตรกร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสำรแบบสลับกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ 2) กรรมวิธีพ่นสาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร 3) กรรมวิธีพ่นสาร spinosad (Success120 SC 12% EC) อัตรา 60 มล./น้ำ 20 ลิตร 4) กรรมวิธีพ่นเชื้อ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai 35,000 DBMU/mg (Xentari) อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 5) กรรมวิธีพ่นเชื้อ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki (Dipel) อัตรำ 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ 6) กรรมวิธีไม่พ่นสาร เริ่มพ่นสารเมื่อพบหนอนใยผักระบาดด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง ประกอบหัวฉีดแบบกรวยกลวง ด้วยอัตราพ่น 80, 100 และ 120 ลิตร/ไร่ เมื่อคะน้าอายุ 25, 35 และ 45 วัน ตามลำดับ พ่นสารทุก 4 วัน จำนวน 6 ครั้ง ตรวจนับหนอนใยผักบนคะน้า 30 ต้น/แปลงย่อย ก่อนพ่นสำรทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 4 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตคะน้าในพื้นที่ 1.5 ตำรางเมตร/แปลงย่อย บันทึกจำนวนต้นและน้ำหนักตามคุณภาพตลาด ผลการทดลองพบว่า สาร spinosad มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีที่สุด รองลงมาคือ สาร tolfenpyrad