การพัฒนารูปแบบการจัดการโรครากปมของปทุมมาและกระเจียวแบบผสมผสาน
#1
การพัฒนารูปแบบการจัดการโรครากปมของปทุมมาและกระเจียวแบบผสมผสาน
ธิติยา สารพัฒน์, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และไตรเดช ข่ายทอง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรครากปมของปทุมมาและกระเจียวเกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Root knot nematode ; Meloidogyne spp.) เพื่อทราบถึงกรรมวิธีที่สามารถควบคุมโรคได้จึงทำการทดลองทั้งในสภาพโรงเรือนทดลองโดยการปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยรากปมในกระถางทดลองและในสภาพแปลงที่มีการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม โดยกรรมวิธีที่ใช้ในการทดลองมีดังนี้ cadusafos 10% GR dinotefuran 1% GR abamectin 1.8% EC fipronil 5% SC น้ำส้มควันไม้ 3 % Clorox 5 % รา Trichoderma harzianum รา Paecilomyces lilacinus เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ไม่ใช้สารโดยการการทดลองในกระถาง วางแผนทดลอง CRD 9 กรรมวิธี 10 ซ้ำ พบว่าจำนวนไส้เดือนฝอยรากปมในดินปลูกหลังการทดลองมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย DMRT พบว่ามีความแตกต่างกัน 4 กลุ่ม ในส่วนของผลการวัดดัชนีการการเกิดปมหรือหูดของปทุมมาทุกกรรมวิธีในการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติและการทดลองในแปลงวางแผนทดลอง RCBD 9 กรรมวิธี 3 ซ้ำ จากการวัดดัชนีการการเกิดปมหรือหูดของหัวปทุมมามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย DMRT สามารถแบ่งเป็น 6 กลุ่ม และในส่วนอัตราการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยรากปมมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย LSD มีความแตกต่างทางสถิติ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม


ไฟล์แนบ
.pdf   36_2556.pdf (ขนาด: 444.83 KB / ดาวน์โหลด: 1,091)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม