01-08-2016, 02:36 PM
ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้
ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์ และเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์ และเกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้ ได้ดำเนินการทดลองโดยทำการสำรวจหาแปลงเกษตรกรที่มีทาก P. siamensis เข้าทำลาย ในพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสวนกล้วยไม้ แปลงผัก และสวนผลไม้ต่างๆ ในบริเวณจังหวัด สมุทรสาคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี และพื้นที่อื่นๆ ที่มีการระบาด เช่น สวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดชุมพร เป็นต้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - สิงหาคม 2555 เพื่อเก็บรวบรวมทาก P. siamensis นำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ โดยนำทากที่ได้มาเลี้ยงในตู้กระจกใสขนาด 26 x 40 x 26 เซนติเมตร ใส่ทากในตู้กระจกตู้ละ 2 ตัว จำนวน 12 ตู้ ให้ดอกกล้วยไม้ ผักกาดขาว และผักกาดแก้ว เป็นอาหารอย่างละ 3 ตู้ เป็นเวลา 1 เดือน พบว่า ทาก P. Siamensis ชอบกินผักกาดขาว และดอกกล้วยไม้มากกว่าผักกาดแก้ว ดังนั้น การเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ จึงให้ทากทั้งหมดกินผักกาดขาวและเสริมด้วยอาหารปลาชนิดเม็ดเป็นอาหาร
การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. Siamensis ในห้องปฏิบัติการ ในปี 2556 ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดหอย (molluscicide) 2 ชนิด คือ niclosamide-olamine 83.1% WP และ metaldehyde 5% GB กับทาก P. siamensis ตามแผนการทดลองแบบ CRD 6 ซ้ำ 7 กรรมวิธี จากผลการทดลองที่ได้พบว่า การใช้ niclosamide-olamine 83.1%w WP ละลายน้ำแล้วพ่นตัวทากให้ทั่วทุกกรรมวิธี ทำให้ทากป่วยและตายเร็วกว่าการใช้เหยื่อเม็ดสำเร็จรูป metaldehyde 5%GB วางให้ทากกิน ทั้งนี้เพราะ niclosamide เมื่อพ่นไปสัมผัสตัวทากซึ่งไม่มีเปลือกหุ้มทำให้สารออกฤทธิ์ได้ทันที ส่วนการกินเหยื่อเม็ดสำเร็จรูป metaldehyde นั้น ทากต้องใช้เวลาในการกินและกินให้ได้ปริมาณสารออกฤทธิ์เพียงพอจึงจะทำให้ทากตาย การทดลองยังไม่สิ้นสุด