01-08-2016, 02:16 PM
การใช้สารกำจัดวัชพืชในการป้องกันกำจัดวัชพืชในกล้วยไม้สกุลหวาย
เสริมศิริ คงแสงดาว, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, ธัญชนก จงรักไทย และกลอยใจ คงเจี้ยง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
เสริมศิริ คงแสงดาว, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, ธัญชนก จงรักไทย และกลอยใจ คงเจี้ยง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
การใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อกำจัดวัชพืชในกล้วยไม้สกุลหวาย ทำการทดลองที่สวนกล้วยไม้ จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 - กันยายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 ซ้ำ โดยแบ่งการทดลองเป็นการทดลองย่อย ได้แก่ เพื่อกำจัดวัชพืชใต้โต๊ะปลูกกล้วยไม้พบว่า การสารพ่นสารกำจัดวัชพืช glyphosate, glufosinate, trifloxysulfuron และ trifloxysulfuron+ametryn สามารถกำจัดวัชพืช ได้แก่ คาดามีน (Cadamine hirsuta L.) หญ้ากาบหอย (Lindernia crustacean (L.) F. Muell) หญ้าตีนนกเล็ก Digitaria ciliaris (Retz.) Koeler) และหญ้าดอกขาวเล็ก (Leptochloa panicea (Retz.) Ohwi) สำหรับการกำจัดวัชพืชบนวัสดุปลูกพบว่า การพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืช flumioxazin, oxyfluorfen, oxadiazon, diuron c และ ametryn เป็นพิษต่อกล้วยไม้เล็กน้อย และสามารถลดจำนวนต้นดาดตะกั่ว (Hemigraphis reptans (G. Forst.) T. Anderson) และขมหินใบน้อย (Pilea microphylla (L.) Liebm.) ได้ดี โดยไม่มีต้นงอกใหม่ และการใช้สารเคมีกำจัดตะไคร่น้ำที่ขึ้นบนวัสดุปลูกพบว่า การพ่นด้วยสาร thyram 80% WG, diuron 80% WP และ copper sulfate 30% WP (พ่น 3 ครั ง) สามารถกำจัดตะไคร่น้ำ มอส และวัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ คาดามีน (Cadamine hirsuta L.) และกระสัง (Peperomia pellucida Korth ) ได้ดี จนถึงระยะ 30 วันหลังพ่นสาร โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้