01-05-2016, 01:17 PM
ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด,
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด,
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การเก็บรักษาไส้เดือนฝอย Steinernema sp. KPs No.2 และ Heterorhabditis sp. PRh isolate ให้คงความมีชีวิตและคงศักยภาพในการกำจัดแมลง ในสารอุ้มความชื้นชนิดต่างๆ โดย Steinernema sp. KPs No.2 เก็บรักษาในขี้เลื่อย ขี้เลื่อยปนดินทราย ขี้เลื่อยปนโพลิเมอร์ ดินพีทก้อนฟองน้ำตัด โพลิเมอร์ และน้ำกลั่น จำนวน 5 ล้านตัวต่อถุง นำมาตรวจนับเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (27+2 ซ) ทุกๆ 1 เดือน พบว่า การเก็บรักษาในสารโพลิเมอร์ สามารถรักษาสภาพของไส้เดือนฝอยได้นานกว่าสารอุ้มความชื้นชนิดอื่นๆ โดยมีระยะการเก็บนาน 3 เดือน พบเปอร์เซ็นต์การตายเพียง 11% รองลงมาคือ ขี้เลื่อยปนโพลิเมอร์พบการตาย 15% ที่ระยะเวลา 3 เดือน แต่การเก็บรักษาไส้เดือนฝอยในก้อนฟองน้ำพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 1 2 และ 3 หรือเท่ากับ 18 46 และ 74 % ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบศักยภาพของไส้เดือนฝอย Steinernema sp. KPs No.2 ที่เก็บรักษาในสาารโพลิเมอร์เป็นระยะเวลา 3 4 และ 5 เดือน ในกาารกำจัดแมลงทดสอบ (หนอนกินไขผึ้ง) พบว่า มีศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบตายเท่ากับ 95 80 และ 60 % ตามลำดับ สำหรับการเก็บรักษาไส้เดือนฝอย Heterorhabditis sp. PRh ในวัสดุเก็บรักษา 5 ชนิด คือ โพลิเมอร์ ขี้เลื่อย ก้อนฟองน้ำ ดินทราย และน้ำกลั่น จำนวน 1 ล้านตัวต่อภาชนะๆ ละ 10 ซ้ำ และตรวจนับเปอร์เซ็นต์การตายทุก 1 เดือน พบว่าเดือนที่ 1 มีเปอร์เซ็นต์การตายของไส้เดือนฝอยเท่ากับ 14 22 46 48 และ 16 เปอร์เซ็นต์ เดือนที่ 2 เท่ากับ 17 25 50 56 และ 21 เปอร์เซ็นต์ และเดือนที่ 3 เท่ากับ 34 48 62 84 และ 57 เปอร์เซ็นต์ ของการเก็บรักษาในโพลิเมอร์ ขี้เลื่อย ก้อนฟองน้ำ กินทราย และน้ำกลั่น ตามลำดับ เมื่อนำไส้เดือนฝอยที่เก็บรักษาในวัสดุเก็บรักษาชนิดต่างๆ เป็นเวลา 2 เดือน มาทดสอบศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบ (Galleria mellonella) พบว่า ไส้เดือนฝอยมีศักยภาพในการฆ่าหนอนทดสอบตายเท่ากับ 90 75 40 5 และ 65 % ตามลำดับ