ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา
#1
ความผันแปรของเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของยางพารา
นริสา  จันทร์เรือง, อุไร  จันทรประทิน, พเยาว์  ร่มรื่นสุขารมย์, บุตรี  พุทธรักษ์ และบัญญัติ  สิทธิผล
ศูนย์วิจัยยางสงขลา และศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา  สถาบันวิจัยยาง 

          เชื้อรา Colletotriclum  gloeosporioides ทำให้เกิดอาการใบจุดโดยทำให้เกิดแผลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ การศึกษาความแตกต่างของสายพันธุ์เชื้อราจากลักษณะทางสัณฐานวิทยา การสร้างสปอร์ และความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรา โดยเก็บตัวอย่างโรคใบจุดนูนที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides จากสวนยาง 27 แหล่ง ในเขตภาคใต้ 3 จังหวัดได้เชื้อราจำนวน 27 สายพันธุ์ พบว่า การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อสามารถจำแนกได้เป็น 8 กลุ่ม การทดสอบความรุนแรงของสายพันธุ์เชื้อในการทำให้เกิดโรคพบว่า สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงระดับ 0-1 มีจำนวน 7 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 1-2 มีจำนวน 7 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 2-3 มีจำนวน 8 สายพันธุ์ ความรุนแรงระดับ 3-4  มีจำนวน 5 สายพันธุ์ ส่วนในเขตปลูกยางใหม่รวบรวมเชื้อรา Colletotrichum sp. ได้ 30 สายพันธุ์ แยกได้จากยางพารา 23 สายพันธุ์ จากพืชอาศัย 7 สายพันธุ์ สามารถจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาบนอาหารได้ 3 กลุ่ม แต่แบ่งตามอัตราการเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เจริญช้า มี 10 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญอยู่ระหว่าง 1.64-2.84 มิลลิเมตรต่อวัน และกลุ่มที่เจริญเร็ว มี 20 สายพันธุ์ มีอัตราการเจริญอยู่ระหว่าง 4.27-5.60 มิลลิเมตรต่อวัน และความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อแต่ละสายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับการสร้างสปอร์ จากผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เชื้อรา Colletotrichum sp. จากแหล่งปลูกยางต่างๆ มีความผันแปรสูงทั้งการทำให้เกิดอาการโรค การเจริญเติบโต และการสร้างสปอร์ จึงควรทำการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรเชื้อต่อไป เพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ไฟล์แนบ
.pdf   1531_2552.pdf (ขนาด: 560.82 KB / ดาวน์โหลด: 2,546)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม