ศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากแมลงช้างปีกใสและ Plesiochrysa ramburi
#1
ศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากแมลงช้างปีกใส Mallada basalis (Walker) และ Plesiochrysa ramburi (Schneide) (Neuroptera : Chrysopidae) ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และอัมพร วิโนทัย
กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          รวบรวมแมลงช้างปีกใสที่พบในธรรมชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 - ตุลาคม 2552 พบแมลงช้างปีกใส 2 ชนิด คือ Mallada basalis และ Plesiochrysa ramburi นำมาศึกษาชีววิทยาและการเลี้ยงเพิ่มปริมาณในห้องปฏิบัติการพบว่า แมลงช้างปีกใสทั้ง 2 ชนิด สามารถเลี้ยงได้โดยใช้เหยื่ออาหารเพลี้ยแป้ง Pseudococcus cryptus Hempel และไข่ผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica (Stainton) M. basalis มีระยะไข่ 3.85 ± 0.32 วัน ระยะตัวอ่อนวัย 1, 2 และ 3 ใช้เวลา 4.55±0.34, 3.45±0.42 และ 3.85±0.74 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมีย 32-80 วัน เพศผู้ 14-32 วัน แมลงช้างปีกใส P. ramburi มีระยะไข่ ระยะไข่ใช้เวลา 3.95±0.22 วัน ระยะตัวอ่อนวัย 1, 2 และ 3 ใช้เวลา 4.25±0.44, 3.95±0.22 และ 3.85±0.74 วัน ตามลำดับ รวมระยะตัวอ่อนใช้เวลา 12.05±0.94 วัน ระยะดักแด้ใช้เวลา 9.85±0.81 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุ 20.05±4.84 และ 34.15±13.53 วัน ตามลำดับ ตัวอ่อนของ M. basalis จะเก็บซากเหยื่อไว้บนหลังส่วน P. ramburi จะนำผงแป้งมาปก และจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงแมลงช้างปีกใส P. ramburi เปรียบเทียบการเลี้ยง 2 วิธีดังนี้ วิธีที่ 1 เลี้ยงตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสทุกระยะด้วยไข่ผีเสื้อข้าวสาร วิธีที่ 2 เลี้ยงตัวอ่อนระยะที่ 1 ด้วยไข่ผีเสื้อข้าวสาร ส่วนในระยะที่ 2 และ 3 เลี้ยงด้วยเพลี้ยแป้งที่เลี้ยงบนฟักทองพบว่า เปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัวเต็มวัยวิธีที่ 1 และ 2 เป็น 32.2%, 68.6% และอัตราส่วนเพศเมียเป็น 39.75%, 53.35% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1615_2553.pdf (ขนาด: 144.31 KB / ดาวน์โหลด: 1,694)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม