พัฒนาและทดสอบโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหรับปลูกกล้วยไม้
#1
พัฒนาและทดสอบโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหรับปลูกกล้วยไม้ในเขตภาคเหนือ และภาคกลาง
จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, สมสมัย เจริญรักษ์, เทวี แสนกล้า และญาณธิชา จิตต์สะอาด
กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาผลของสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์สำหรับการปลูกกล้วยไม้โดยใช้ต้นกล้วยไม้สกุลหวาย ที่มีอายุ 6 เดือน และ 1 ปี ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 16 ต้น ประกอบด้วยความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ 6 กรรมวิธีคือ น้ำจากแปลงเกษตรกร (Control) และน้ำจากแปลงเกษตรกร + สารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 5 ระดับ ประกอบด้วย 3, 6, 9, 12 และ 15 me/L ตามลำดับ พบว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ละลายอยู่ใน้ำไม่มีผลทำให้จำนวนหน่อ และการเจริญของต้นกล้วยไม้แตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อนำปริมาณผลผลิตช่อดอกที่ได้ทั้งหมดมาคำนวณกับราคาขายเฉลี่ยพบว่า กล้วยไม้ที่มีอายุ 6 เดือน มีรายได้เฉลี่ยที่ได้จากกรรมวิธีที่มีสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 3me/L สูงสุด 892.50 บาท เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ แต่ในขณะที่กล้วยไม้มีอายุ 1 ปี ในกรรมวิธีที่มีสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 3 me/L จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 849 บาท รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ใช้น้ำจากแปลงเกษตรกร 836 บาท ตามลำดับ จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ละลายอยู่ในน้ำไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ แต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตน้อยลง ดังนั้น น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ควรจะมีปริมาณเกลือโซเดียมและคลอไรด์ไม่เกิน 3 me/L จะทำให้ได้ผลผลิตดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ


ไฟล์แนบ
.pdf   1962_2553.pdf (ขนาด: 1.07 MB / ดาวน์โหลด: 930)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม