พัฒนาและทดสอบโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหรับปลูกหน้าวัว
#1
พัฒนาและทดสอบโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหรับปลูกหน้าวัวในเขตภาคเหนือ และภาคกลาง
จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, สมสมัย เจริญรักษ์, เทวี แสนกล้า และญาณธิชา จิตต์สะอาด
กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ศึกษาผลของสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์สำหรับการปลูกหน้าวัวโดยใช้ต้นหน้าวัวพันธุ์ Tropical อายุ 2 เดือน ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 10 ต้น ประกอบด้วยความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ 6 กรรมวิธีคือ น้ำจากแปลงเกษตรกร (Control) และน้ำจากแปลงเกษตรกร + สารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 5 ระดับ ประกอบด้วย 3, 6, 9, 12 และ 15 me/L ตามลำดับ พบว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ละลายอยู่ใน้ำไม่มีผลทำให้การเจริญเติบโตของต้นหน้าวัว ได้แก่ ความกว้าง ความยาวใบ และความสูงแตกต่างกันในทุกกรรมวิธี แต่กรรมวิธีที่ได้รับสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 3 me/L จะให้ปริมาณผลผลิตดอกหน้าวัวสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ และพบว่า มีแนวโน้มที่จะพบดอกหน้าวัวที่แสดงอาการเน่าที่ปลายกลีบดอกมากขึ้นตามความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ต้นหน้าวัวได้รับ และเมื่อนำดอกหน้าวัวที่ได้ทั้งหมดมาคำนวณกับราคาขายเฉลี่ยพบว่า รายได้เฉลี่ยที่ได้จากกรรมวิธีที่มีสารละลายเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 3me/L สูงสุด 808 บาท เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ที่ละลายอยู่ในน้ำไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นหน้าวัว แต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทำให้ได้ปริมาณผลผลิตน้อยลง และดอกหน้าวัวแสดงอาการเน่าที่ปลายกลีบดอกมากขึ้น ดังนั้น น้ำที่ใช้รดต้นหน้าวัวควรมีปริมาณเกลือโซเดียมและคลอไรด์วิกฤตไม่เกิน 3 me/L จะทำให้ได้ผลผลิตดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ


ไฟล์แนบ
.pdf   1961_2553.pdf (ขนาด: 1.07 MB / ดาวน์โหลด: 670)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม