การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Congress grass (Parthernium hysterophous L.)
#1
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Congress grass (Parthernium hysterophous L.)
ศิริพร ซึงสนธิพร และธัญชนก จงรักไทย 
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช 
          
          Congress Grass (Parthenium hysterophorus L.) เป็นพืชไม้เนื้ออ่อน อายุสั้น ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae / Compositae) เป็นสิ่งต้องห้ามอันดับที่ 432 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 เป็นวัชพืชร้ายแรงในหลายประเทศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สามารถปรับตัวเจริญในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถสร้างดอกได้หลังจากงอกเพียง 30 วัน สร้างเมล็ดจำนวนมากเฉลี่ย 15,000 เมล็ดต่อต้น และถึง 100,000 เมล็ดในต้นใหญ่ งอกได้ที่อุณหภูมิ 8 - 30 °ซ เมล็ดแพร่กระจายโดยลม น้ำ ปะปนไปกับผลผลิตการเกษตร อุปกรณ์หรือยานพาหนะหรือสัตว์ แพร่ระบาดในหลายประเทศรวมถึงอินเดีย จีน (8 มณฑลทางตอนใต้) และเวียดนาม ซึ่งมีภูมิอากาศคล้ายคลึงประเทศไทย และมีเส้นทางคมนาคมทางบกถึงกัน จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังไม่ให้วัชพืชนี้เข้ามาระบาดในประเทศไทย โดยทำการสำรวจแบบสืบพบเริ่มแรก (early detection survey) ในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ จุดผ่านแดน เขตผ่อนปรนทางการค้า พื้นที่ไหล่ทางในระยะ 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลักจากจุดผ่านแดนและพื้นที่อื่นที่มีสภาพที่คาดว่า Congress grass สามารถเจริญเติบโตได้ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ ปรากฏว่าไม่พบ Congress grass แต่พบพืชอื่นอยู่ระหว่างการตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องจำนวน 5 ชนิด โดยเป็นพืชในวงศ์ Boraginaceae 3 ชนิด และคาดว่า 3 ชนิดจะเป็นพืชพบใหม่ของประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   1683_2553.pdf (ขนาด: 820.42 KB / ดาวน์โหลด: 1,788)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม