ศึกษาชีววิทยาหอยดักดาน Cryptozona siamensis (Pfeiffer)
#1
ศึกษาชีววิทยาหอยดักดาน Cryptozona siamensis (Pfeiffer)
สมเกียรติ กล้าแข็ง ดาราพร รินทะรักษ์ ปราสาททอง พรหมเกิด ปิยาณี หนูกาฬ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          หอยดักดาน หรือบางครั้งเรียกว่า หอยทากสยาม (Cryptozona siamensis , Pfeiffer) เป็นศัตรูพืชที่สำคัญเพราะกินและทำลายพืชผักได้เกือบทุกชนิด และมีเขตการแพร่กระจายทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ตามป่าเขา หรือแม้กระทั่งตามเกาะต่างๆ จากการศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาในห้องปฏิบัติการ โดยการนำหอยทากดักดาน เลี้ยงไว้ในตู้ปลาและกล่องพลาสติก ที่ใส่ขุยมะพร้าวผสมกับดิน ให้ผักต่างๆ รวมทั้งอาหารปลาอัดเม็ดเป็นอาหาร โดยทำการฉีดพ่นน้ำให้ความชื้นทุกวัน พบว่า หอยทากดักดานซึ่งมีสองเพศในตัวเดียวกันนั้น มีการผสมพันธุ์ข้าม โดยถ่าย sperm ให้แก่กันและกัน การผสมพันธุ์ของหอยทากดักดานใช้เวลาโดยเฉลี่ย 1 - 1.5 ชั่วโมง และจะวางไข่เป็นกลุ่ม เฉลี่ย 57 ฟอง/กลุ่ม (N = 60) โดยหอยจะทำโพรงเล็กๆ ลึกลงไปใต้ผิวดินประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ลักษณะของไข่เป็นสีขาวขุ่น นิ่ม รูปทรงกลม หัวท้ายบุ๋ม ขนาดเฉลี่ย 3.1 x 3.5 มิลลิเมตร และหนักเฉลี่ย 0.028 กรัม เมื่อได้รับความชื้น ลักษณะของไข่จะเป็นทรงกลมรี ใช้เวลาในการฟักประมาณ 7 - 20 วัน ลูกหอยหนักเฉลี่ย 0.0187 กรัม มีขนาดเฉลี่ย 3.7982 มิลลิเมตร โดยมีอัตราการฟักเป็นตัว 60.72 % อุณหภูมิ 27±3 องศาเซลเซียส การศึกษาครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ยังต้องศึกษาพฤติกรรมบางประการในปีถัดไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2503_2555.pdf (ขนาด: 191.45 KB / ดาวน์โหลด: 2,646)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม