11-19-2015, 03:19 PM
การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อกระจายพืชไร่พันธุ์ดีสู่เกษตรกร
กัลยา เนตรกัลยามิตร, ชุติมา คชวัฒน์, นรีลักษณ์ วรรณสาย, ศักดิ์ เพ่งผล, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, อมรา ไตรศิริ, นิภาภรณ์ พรรณรา, กัณทิมา ทองศรี และธงชัย ตั้งเปรมศรี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
กัลยา เนตรกัลยามิตร, ชุติมา คชวัฒน์, นรีลักษณ์ วรรณสาย, ศักดิ์ เพ่งผล, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, อมรา ไตรศิริ, นิภาภรณ์ พรรณรา, กัณทิมา ทองศรี และธงชัย ตั้งเปรมศรี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
การใช้พืชพันธุ์ดีและเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มผลผลิต และสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์พืชหลายชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการเกษตรกรต้องใช้เมล็ดพันธุ์ด้อยคุณภาพทำให้ผลผลิตต่ำ หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ดังนั้นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายพันธุ์ดีสู่เกษตรกร ช่วยเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร การดำเนินงานในปี 2553-2555 ได้กระจายพันธุ์ดีและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์สู่เกษตรกรผ่านเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพดลูกผสม โดยบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร สามารถสร้างเครือข่าย 53 กลุ่ม/สหกรณ์ ในพื้นที่ 24 จังหวัด ช่วยเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองและถั่วเขียวจากร้อยละ 5 และ 9 เป็น 24 และ 51 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นรวม 1,430 ล้านบาท ในขณะที่การสร้างหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมใน 6 จังหวัด ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 40 ผลการดำเนินงานทำให้เกิดการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงพืชพันธุ์ดี และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพโดยภาครัฐผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายหรือสายพันธุ์แท้รองรับการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พร้อมกับตรวจสอบรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์