ความหลากชนิดของสัตว์ศัตรูธรรมชาติสัตว์ฟันแทะในพื้นที่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่เกษตรที่สูง
#1
ความหลากชนิดของสัตว์ศัตรูธรรมชาติของสัตว์ฟันแทะในพื้นที่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่เกษตรที่สูงภาคเหนือ
เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปิยาณี หนูกูกาฬ, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลการสำรวจในพื้นที่เพาะปลูกพืชบนพื้นที่สูงในท้องที่จังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา พบสัตวที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนูทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ นกเค้าแมว นกแสก แมวดาว อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก ชะมดแผงหางปล้อง สุนัขจิ้งจอก และงูสิงธรรมดา ในแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายของชนิดสัตวที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนูแตกต่างกัน ที่ต่ำที่สุดมี 2-3 ชนิด ส่วนใหญ่มีความหลากหลาย 4-5 ชนิด พื้นที่ที่มีความหลากหลายมากที่สุด 6 ชนิด ระดับความชุกชุมที่พบเห็นในแต่ละพื้นที่ของสัตว์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น แมวดาว ส่วนใหญ่จะมีความชุกชุมในระดับปานกลาง แต่บางพื้นที่มีความชุกชุมมาก บางพื้นที่มีความชุกชุมน้อย ส่วนนกเค้าแมวส่วนใหญ่มีความชุกชุมมากเกือบทุกพื้นที่ ส่วนสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น สุนัขจิ้งจอกและชะมดแผงหางปล้อง แต่ละพื้นที่ก็มีความชุกชุมน้อยมาก เนื่องจากมีความต้องการแหล่งอาศัยที่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ประกอบกับมีการล่าสัตว์เหล่านี้มากเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรลดลง พบเห็นได้ในบางพื้นที่และมีความชุกชุมน้อยมาก ในกรณีของนกแสกที่พบเห็นได้น้อยและมีความชุกชุมน้อยอาจเนื่องจากนกแสกชอบอาศัยในบริเวณพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมในบริเวณพื้นที่ราบมากกว่าในพื้นที่สูงจึงพบเห็นได้น้อย


ไฟล์แนบ
.pdf   2204_2554.pdf (ขนาด: 101.93 KB / ดาวน์โหลด: 865)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม