10-12-2015, 04:10 PM
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrissia virgata (Cockerell)
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrissia virgata (Cockerell) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในฝรั่ง ทำการทดลองที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25%WG), imidacloprid (Provado 70%WG), white oil (Vite oil 67%EC), petroleum spray oil (SK Enspray 99), imidacloprid (Provado 70%WG) + white oil (Vite oil 67%EC) อัตรา 4, 4, 100, 100 และ 2+50 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสารทั้งสองแปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับเพลี้ยแป้งบนผลฝรั่ง จำนวน 10 ผล/ซ้ำ ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างแมลงที่พบในแปลงฝรั่งของเกษตรกร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มาจำแนกชนิด ได้แก่ แมลงหวี่ขาวใยเกลียว Aleurodicus dispersus (Russell), เพลี้ยแป้งลาย Ferrisia virgata (Cockerell) พบการระบาดของแมลงไม่สม่ำเสมอ จึงทำการรวบรวมเพลี้ยแป้งลายมาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณบนผลฟักทอง เพื่อทำการระบาดเทียม แต่ปริมาณของแมลงหลังจากปล่อยแล้วพบว่า การระบาดยังไม่สม่ำเสมอและปริมาณแมลงยังไม่เพียงพอสำหรับทำการทดลอง
พวงผกา อ่างมณี, สุเทพ สหายา, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ และชมัยพร บัวมาศ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การคัดเลือกสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Ferrissia virgata (Cockerell) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในฝรั่ง ทำการทดลองที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25%WG), imidacloprid (Provado 70%WG), white oil (Vite oil 67%EC), petroleum spray oil (SK Enspray 99), imidacloprid (Provado 70%WG) + white oil (Vite oil 67%EC) อัตรา 4, 4, 100, 100 และ 2+50 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสารทั้งสองแปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับเพลี้ยแป้งบนผลฝรั่ง จำนวน 10 ผล/ซ้ำ ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างแมลงที่พบในแปลงฝรั่งของเกษตรกร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มาจำแนกชนิด ได้แก่ แมลงหวี่ขาวใยเกลียว Aleurodicus dispersus (Russell), เพลี้ยแป้งลาย Ferrisia virgata (Cockerell) พบการระบาดของแมลงไม่สม่ำเสมอ จึงทำการรวบรวมเพลี้ยแป้งลายมาเลี้ยงขยายเพิ่มปริมาณบนผลฟักทอง เพื่อทำการระบาดเทียม แต่ปริมาณของแมลงหลังจากปล่อยแล้วพบว่า การระบาดยังไม่สม่ำเสมอและปริมาณแมลงยังไม่เพียงพอสำหรับทำการทดลอง