การเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในพืชผัก สมุนไพรและผลไม้
#1
การเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในพืชผัก สมุนไพรและผลไม้
จินตนา ภู่มงกุฎชัย
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร


          ในช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2560 กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มีการเก็บตัวอย่างจากแหล่งจำหน่ายทั่วประเทศ และจากจังหวัดใกล้เคียง สถานที่ทำแปลงทดลอง เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง  (Maximum Residue Limit Establishment : MRL) โดยมีการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ในผัก สมุนไพร และผลไม้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งสิ้น 2,544 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 51% ของตัวอย่างทั้งหมด พืชผัก ผลไม้ ที่ตรวจวิเคราะห์มีความหลากหลายจึงแบ่งพืช ตามการจัดกลุ่มสินค้าเกษตร: พืช (มกษ. 9045-2559)

          ผัก 15 ชนิด ตรวจวิเคราะห์รวม 1,723 ตัวอย่าง (พบ 42%) ดังนี้ กลุ่มแตงกวา พบสาร 6 - 12 ชนิด ปริมาณ 0.01 - 0.47 mg/kg แตงกวา 131 ตัวอย่าง (พบ 14.5%) มะระ 107 ตัวอย่าง (พบ 22.4%) บวบ 102 ตัวอย่าง (พบ 16.7%) โดยพบสาร metalaxy, chlorpyrifos และ diazinon ตกค้างสูงสุด กลุ่มแตงโม 98 ตัวอย่าง (พบ 15.3%) พบสาร 6 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 0.07 mg/kg พบ acephate ตกค้างสูงสุด กลุ่มวินเทอร์สควอช ได้แก่ ฟักทอง 38 ตัวอย่างไม่พบสารพิษตกค้าง ฟักเขียว 81 ตัวอย่าง (พบ 2.5%) พบ chlorpyrifos ปริมาณ  0.05 - 0.09 mg/kg  ผัก บริโภคผลนอกเหนือจากตระกูลแตง พบสาร 13 - 16 ชนิด  ปริมาณ <0.01 - 3.94 mg/kg ได้แก่ กลุ่มพริก 180 ตัวอย่าง (พบ 65%) กลุ่มมะเขือ ได้แก่ มะเขือยาว 112 ตัวอย่าง (พบ 65.2%) และมะเขือเปราะ 77 ตัวอย่าง (พบ 44.2%) พบ profenofos, omethoate และ ethion ตกค้างสูงสุด กลุ่มผักใบตระกูลกะหล่ำ  พบสาร 7 - 37 ชนิด  ปริมาณ <0.016.47 mg/kg ได้แก่ คะน้า 220 ตัวอย่าง (พบ 65.5%) และกวางตุ้ง 58 ตัวอย่าง (พบ 55.2%)  พบ cypermethrin ตกค้างสูงสุด กลุ่มถั่วฝักสดแบบเมล็ดไม่กลม พบสาร 7 - 15 ชนิด ปริมาณ 0.01 - 14.88 mg/kg ได้แก่ ถั่วฝักยาว 380 ตัวอย่าง (พบ 38.9%)  และถั่วแขก 28 ตัวอย่าง (พบ 53.6%)  พบ cypermethrin ตกค้างสูงสุด กลุ่มถั่วฝักสดแบบเมล็ดกลม ได้แก่ ถั่วลันเตา 52 ตัวอย่าง (พบ 57.7%) พบสาร 4 ชนิดปริมาณ  0.01 - 2.05 mg/kg พบ cypermethrin ตกค้างสูงสุด กลุ่มผักที่บริโภคลำต้นและก้าน ได้แก่ คื่นช่าย 59 ตัวอย่าง พบ (81.4%) พบสาร 10 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 10.95 mg/kg พบ cypermethrin ตกค้างสูงสุด

         พืชสมุนไพรในกลุ่มไม้ล้มลุก 6 ชนิดตรวจวิเคราะห์รวม 371 ตัวอย่าง (พบ 64%) พบสาร 10 - 30 ชนิด ปริมาณ 0.01 - 14.46 mg/kg ได้แก่ กะเพรา 107 ตัวอย่าง (พบ 60.7%) โหระพา 98 ตัวอย่าง (พบ 70.4%) แมงลัก 13 ตัวอย่าง (พบ 53.8%) สะระแหน่ 48 ตัวอย่าง (พบ 72.9%) ผักชี 51 ตัวอย่าง (พบ 54.9%) และผักชีฝรั่ง 54 ตัวอย่าง (พบ 64.8%) พบ cypermethrin chlorpyrifos และ ethion ตกค้างสูงสุด

         ผลไม้ 5 ชนิดตรวจวิเคราะห์รวม 450 ตัวอย่าง (พบ 73%) ดังนี้ ตระกูลส้มเปลือกร่อน ได้แก่ ส้ม 124 ตัวอย่าง (พบ 100%) พบสาร 30 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 3.14 mg/kg พบ carbendazim ตกค้างสูงสุด และตระกูลส้มโอ 144 ตัวอย่าง (พบ 68%) พบสาร 18 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 1.04 mg/kg พบ carbendazim ตกค้างสูงสุด ตระกูลเบอรี่ และผลไม้ขนาดเล็ก ไม้เลื้อย ได้แก่ องุ่น 30 ตัวอย่าง (พบ 100%) พบสาร 26 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 12.20 mg/kg พบ carbendazim ตกค้างสูงสุด ผลไม้เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนที่เปลือกบริโภคไม่ได้ ผลใหญ่ผิวเกลี้ยง ได้แก่ มะม่วง 112 ตัวอย่าง (พบ 44.6%) พบสาร 18 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 0.22 mg/kg พบ methomyl ตกค้างสูงสุด ผลใหญ่ผิวขรุขระ ได้แก่ทุเรียน 40 ตัวอย่าง (พบ 70%) พบสาร 17 ชนิด ปริมาณ  0.01 - 4.38 mg/kg พบ cypermethrin ตกค้างสูงสุด


ไฟล์แนบ
.pdf   10_2562.pdf (ขนาด: 124.38 KB / ดาวน์โหลด: 1,757)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม