10-18-2019, 11:33 AM
ความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murinae) ที่พบในประเทศไทย
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่ง สกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murinae) ที่พบในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 ได้ตัวอย่างหนูหริ่งศัตรูพืช จากการใช้กรงดักชนิดจับเป็นจำนวน 96 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัด ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าหนูหริ่งนาหางสั้น (Mus cervicolor) มีน้ำหนักและขนาดลำตัวโดยเฉลี่ยใหญ่กว่าหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) แต่มีความยาวของหางที่สั้นกว่า ในขณะที่การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์จำนวน 2 คู่ ได้แก่ บริเวณไซโตโครม บี และบริเวณไซโตโครม ซี ออกซิเดส ในไมโตคอนเดรียล ดีเอ็นเอได้ลาดับเบสและทราบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของตัวอย่างหนูหริ่งที่ดักได้จากธรรมชาติ จำนวน 49 ตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของกะโหลก และลักษณะทางพันธุกรรมต่อไป
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่ง สกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murinae) ที่พบในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 ได้ตัวอย่างหนูหริ่งศัตรูพืช จากการใช้กรงดักชนิดจับเป็นจำนวน 96 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัด ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าหนูหริ่งนาหางสั้น (Mus cervicolor) มีน้ำหนักและขนาดลำตัวโดยเฉลี่ยใหญ่กว่าหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) แต่มีความยาวของหางที่สั้นกว่า ในขณะที่การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์จำนวน 2 คู่ ได้แก่ บริเวณไซโตโครม บี และบริเวณไซโตโครม ซี ออกซิเดส ในไมโตคอนเดรียล ดีเอ็นเอได้ลาดับเบสและทราบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของตัวอย่างหนูหริ่งที่ดักได้จากธรรมชาติ จำนวน 49 ตัวอย่าง
การศึกษาครั้งนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของกะโหลก และลักษณะทางพันธุกรรมต่อไป