การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Pantoea agglomerans ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
#1
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Pantoea agglomerans ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด เพื่อการส่งออก
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, ชลธิชา รักใคร่ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช  และกลุ่มกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การสำรวจโรคเหี่ยวของข้าวโพดดำเนินการสำรวจแบบเฉพาะเจาะจง (specific survey) เพื่อให้ทราบข้อมูลโรคเหี่ยวของข้าวโพดและเชื้อสาเหตุโรค Pantoea agglomerans ในพื้นที่สำรวจและในเวลาที่กำหนด ดำเนินการโดยตรวจเอกสารข้อมูลของเชื้อแบคทีเรีย และลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P. agglomerans ที่พบในข้าวโพด ข้อมูลการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจากแหล่งผลิตที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ P. agglomerans หาแหล่งปลูกข้าวโพดพร้อมทั้งวางแผนการสำรวจโรค ทำการสำรวจเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์และลักษณะอาการใบไหม้ จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก ราชบุรี กาญจนบุรี และนครราชสีมา จำนวน 17 ตัวอย่าง นำมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อแยกเชื้อ P. agglomerans ผลการตรวจพบว่า แบคทีเรียทั้งหมดไม่ใช่แบคทีเรีย P. agglomerans


ไฟล์แนบ
.pdf   2185_2554.pdf (ขนาด: 80.89 KB / ดาวน์โหลด: 818)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม