การศึกษาชนิดของโรคพืชเพื่อการส่งออกและพืชนำเข้า
#1
การศึกษาชนิดของโรคพืชเพื่อการส่งออก (มะละกอและมะพร้าวน้ำหอม) และพืชนำเข้า (ปาล์มน้ำมันและหัวพันธุ์ไม้ดอก)
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, ชนินทร ดวงสอาด, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และเยาวภา ตันติวานิช
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

ตรวจคนเอกสารและรวบรวมรายชื่อโรคพืชของโรคของมะละกอ มะพร้าวน้ำหอม ปาล์มน้ำมัน และหัวพันธุ์ไม้ดอก ที่เกิดในประเทศไทยพบโรคพืชที่เกิดจากรา แบคทีเรีย ไวรัสและไส้เดือนฝอย และจัดทำบัญชีรายชื่อโรคพืชของมะละกอ มะพร้าวน้ำหอม ปาล์มน้ำมัน และหัวพันธุ์ไม้ดอก ที่มีรายงานในประเทศไทย

สำรวจ เก็บตัวอย่างโรค และศึกษาชนิดของโรคพืชของพืชสงออก ได้แก่ มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม พืชนำเข้า ได้แก่  ปาล์มน้ำมัน และหัวพันธุ์ไม้ดอก จากแหลงปลูกต่างๆ ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 – เดือนกันยายน 2554 โดยศึกษาลักษณะอาการในแปลงและเก็บตัวอย่างโรค นำมาศึกษาเชื้อสาเหตุในห้องปฏิบัติการ จากการสำรวจและศึกษาเชื้อสาเหตุพบโรคดังนี้ โรคพืชของพืชส่งออกมะละกอ พบโรคแอนแทรคโนสบนผลสาเหตุเกิดจาก Colletotrichum gloeosporioides โรคผลเน่าสาเหตุเกิดจาก Lasiodiplodia theobromae โรคจุดดำสาเหตุเกิดจาก Asperisporium caricae โรคใบจุดสาเหตุเกิดจาก Alternaria alternate, Corynespora  cassiicola, Cercospora, Phoma และ Mycosphaerella โรครากเน่าโคนเน่าสาเหตุเกิดจาก Phytophthora plamivora โรคราแป้งสาเหตุเกิดจาก Oidium โรคจุดวงแหวนสาเหตุเกิดจาก Papaya ringspot virus มะพร้าวหอม โรคใบจุดสาเหตุเกิดจาก Pestalotiopsis โรคใบจุดสาหร่ายสาเหตุเกิดจาก Cephaleuros virescens โรคเปลือกแตกยางไหลสาเหตุเกิดจากรา Ceratocystis paradoxa โรคยอดเน่าและผลเน่าสาเหตุเกิดจาก Phytophthora palmivora โรครากเน่าสาเหตุเกิดจากรา Ganoderma

สำหรับผลการสำรวจและศึกษาเชื้อสาเหตุของโรคพืชนำเข้าพบโรคดังนี้ ปาล์มน้ำมัน พบใบไหม้ปาล์มน้ำมัน สาเหตุเกิดจาก Curvularia eragrostidis โรค crown diseases โรคทางใบบิด โรคใบจุดสาหราย อาการขาดธาตุโปตัสเซียม อาการขาดธาตุไนโตรเจน อาการขาดธาตุโบรอน ราดำ และโรคลำต้นเน่า สาเหตุเกิดจาก Ganoderma boninense หัวพันธุ์ไม้ดอก ได้แก่ ลิลลี่ พบอาการใบจุดสาเหตุเกิดจากรา Colletotrichum gloeosporioides, Alternaria, Phma, Mycosphaerella โรคใบไหม้สาเหตุเกิดจากรา Botrytis cinerea ทิวลิป พบอาการหัวเน่า พบรา Fusariom oxysporum เจริญอยู่บนหัวทิวลิป เก็บตัวอยางโรคพืชทั้งหมดไว้ในพิพิธภัณฑ์โรคพืช กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร


ไฟล์แนบ
.pdf   2151_2554.pdf (ขนาด: 175.53 KB / ดาวน์โหลด: 1,500)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม