ประสิทธิภาพและสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าในการควบคุมวัชพืช
#1
ประสิทธิภาพและสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าในการควบคุมวัชพืช
อัณศยา พรมมา, ศิริพร สอนท่าโก, ธัญชนก จงรักไทย, ธนิตา คำอำนวย, พรรณีกา อัตตนนท์, ศิริพร ซึงสนธิพร, คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และวิไลวรรณ พรหมคำ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักาาพืช และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การทดสอบประสิทธิภาพและหากลุ่มสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช โดยสกัดที่ห้องปฏิบัติการาองกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และทดสอบประสิทธิภาพ ณ ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช ส่านักวิจัยพัฒนาการอารักาาพืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 โดยเก็บส่วนเหนือดินของแมงลักป่าระยะเจริญ ระยะออกดอก และต้นแห้ง จากจังหวัดกาญจนบุรี น่าตัวอย่างมาแยกส่วน ใบ (ต้นที่อยู่ในระยะเจริญ) ใบและดอก (ระยะออกดอก และต้นแห้ง) และลำต้น แบ่งตัวอย่างสดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหยทันที และอีกส่วนนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จนเหลือความชื้น 14 - 18% สกัดโดยวิธี Hydrodistillation พบว่าส่วนใบและดอกของทุกตัวอย่างให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าส่วนอื่นๆ น้ำมันหอมระเหยจากใบและดอกของต้นแห้ง มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง การงอกและการเจริญสูงสุด เมื่อศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยต่อวัชพืช 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli (L.) P. Beauv.) ผักโขมหนาม (Amaranthus spinosus L.) ถั่วผี (Macroptilium lathyroides (L.) Urb.) และไมยราบเลื้อย (Mimosa diplotricha C. Wright ex Sauvalle) ในห้องปฏิบัติการพบว่า อัตราน้ำมันหอมระเหยเทียบเท่าตัวอย่างแมงลักป่า 100 กรัม (gE) สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญาองพืชทดสอบได้สูงสุดมากกว่า 70% และการพ่นน้ำมันหอมระเหยแบบหลังพืชงอกในสภาพเรือนทดลองอัตรา 100 และ 200 gE ผสมสารจับใบ บนวัชพืช 5 ชนิด ได้แก่ หญ้าข้าวนก หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium (L.) Willd.) ผักโขมหนาม ถั่วผี และไมยราบเลื้อย ที่ระยะ 2 - 3 ใบ พบว่าพืชที่ได้รับน้ำมันหอมระเหย ใบมีอาการฉ่ำน้ำ ใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือน้ำตาล และแห้งตายในที่สุด น้ำมันหอมระเหยอัตรา 200 gE ทำให้พืชทดสอบทุกชนิด ตายมากว่า 70% หลังได้รับสาร 30 วัน เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยไปตรวจหาชนิดสาร ด้วยวิธี GC-MS พบว่า มีเทอร์พีนอยด์เป็นกลุ่มสารสำคัญ ซึ่งมีสารมากกว่า 30 ชนิด และชนิดที่มีปริมาณสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ 1,8-cineole, sabinene และ trans-caryophyllene โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละพื้นที่ที่ได้จากโครมาโทแกรม เท่ากับ 24.44, 18.32 และ 8.45% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1_2560.pdf (ขนาด: 276.48 KB / ดาวน์โหลด: 810)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม