02-01-2017, 03:59 PM
การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและสารออคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A) ในเมล็ดกาแฟ
ทิพยา ไกรทอง, ปิยนุช นาคะ, ปานหทัย นพชินวงศ์, เสรี อยู่สถิตย์ และลิลลี่ พรานุสร
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
ทิพยา ไกรทอง, ปิยนุช นาคะ, ปานหทัย นพชินวงศ์, เสรี อยู่สถิตย์ และลิลลี่ พรานุสร
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
เก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและออคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A) ในเมล็ดกาแฟ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ Main plot ประกอบด้วย ภาชนะในการเก็บรักษา ประกอบด้วย เก็บในถุงพลาสติกหนาซีนด้วยสูญญากาศ เก็บในถุงผ้าดิบ เก็บในถุงพลาสติกหนา (hermetic bag) เก็บในกระสอบป่าน และเก็บถุงพลาสติกใส (polyethelene bag liner) Sub plot คือ ระยะเวลาในการเก็บรักษา ประกอบด้วยเก็บรักษาที่อายุ 3, 6, 9 และ 12 เดือน พบว่าการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่อายุ 3 เดือนในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 และ 2556/57 ไม่พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟ และเชื้อรา แต่หลังจาก 6 เดือนไปแล้วเริ่มพบว่ามีด้วงกาแฟเข้าทำลายและพบเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรักษา 12 เดือน ในปี 2555/2556 และ 2556/2557 พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟเฉลี่ยคิดเป็น 38.0% และ 15.0% และพบเชื้อรา Aspergillus njger Pennicillium Mycelium ทุกภาชนะที่เก็บรักษาจากการสุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Direct plate การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้ได้คุณภาพดีควรเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่มีความชื้นไม่เกิน 13% (มาตรฐานการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟความชื้นไม่เกิน 13%) สามารถเก็บได้นานสูงสุด 6 เดือนในสภาพอุณหภูมิ 25 - 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80% โดยเก็บในถุงพลาสติกแบบซีลดีที่สุด รองลงมาเป็นการเก็บในถุงพลาสติกหนา เนื่องจากการเข้าทำลายของด้วงกาแฟน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นๆ และปริมาณสารพิษจากเชื้อราต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากลกำหนด คือ ไม่เกิน 5 µg/kg หรือ ppb นอกจากนั้นความชื้นของเมล็ดกาแฟอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด