ผลของแคลเซียมและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตถั่วลิสงสายพันธุ์ก้าวหน้า : ชุดฝักต้ม
#1
ผลของแคลเซียมและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตถั่วลิสงสายพันธุ์ก้าวหน้า : ชุดฝักต้ม
ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และสมศักดิ์ อิทธิพงษ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

          ศึกษาผลของแคลเซียมในรูปปูนขาวและยิบซัม และอัตราปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 ต่อการปลูกถั่วลิสงสายพันธุ์ก้าวหน้า KKFC49-02-8-3 ประกอบด้วย 2 การทดลองในปี 2556 และ 2557 วางแผนการทดลองแบบ Split Plot โดยการสุ่มแบบสมบูรณ์ ปัจจัยหลัก (main plot) คือ วิธีใส่แคลเซียม 2 วิธี คือการใส่ปูนขาวและยิบซัม อัตรา 100 และ 50 กก./ไร่ และวิธีการไม่ใส่ปูนเป็นวิธีตรวจสอบ ปัจจัยย่อย (subplot) ได้แก่ อัตราการใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12  3 อัตรา คือ 12.5, 25.0  และ 37.5 กิโลกรัมต่อไร่ และวิธีไม่ใส่ปุ๋ยเป็นวิธีตรวจสอบ จำนวน 3 ซ้ำ การทดลองปี 2556 ปลูก 2 กรกฎาคม 2556 และเก็บเกี่ยว 30 กันยายน 2556 ที่อายุ 90 วัน และการทดลองปี 2557 ปลูก 15 กันยายน 2557 และเก็บเกี่ยว 6 มกราคม 2557 ที่อายุ 113 วัน ดำเนินงานในไร่เกษตรกรอำเภอน้ำพองและอำเภอเมือง ในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ คุณสมบัติดินเริ่มต้นทั้งสองแปลงเป็นกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุต่ำมาก แต่ดินที่ใช้ในปี 2556 มีปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมมีปริมาณพอเพียงสำหรับความต้องการของถั่วลิสง แต่ดินปลูกในปี 2557 มีปริมาณธาตุอาหารต่ำ ยกเว้นโพแทสเซียม  หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วลิสงปี 2556 การใส่ปูนขาวรักษาระดับ pH ดินได้ใกล้เคียงค่าเริ่มต้น และรักษาปริมาณแคลเซียมได้มากกว่าการไม่ใส่ปูนและการใส่ยิบซัม แต่ทุกวิธีทำให้แมกนีเซียมลดต่ำลง การใส่ปุ๋ยเคมีนอกจากทำให้ pH ดินลดต่ำลงแล้ว ปริมาณธาตุอาหารทั้งฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ไม่มีความแตกต่างกันจากอัตราปุ๋ยที่ใส่ แต่ยังมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมลดลงต่ำมากกว่าค่าเริ่มต้นอย่างเด่นชัด การปลูกปี 2557 การปลูกถั่วลิสงทั้งจากการใส่ปูนและใส่ปุ๋ยลดค่า pH และการนำไฟฟ้าของดิน แต่การใส่ปูนขาวรักษาระดับ pH ดินให้ลดต่ำกว่าการไม่ใส่ปูนและใส่ยิบซัม แต่เฉพาะแคลเซียมที่มีปริมาณสูงกว่าการไม่ใส่ปูนและใส่ยิบซัม การใส่ปุ๋ยเคมีเฉพาะฟอสฟอรัสมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตฝักถั่วลิสงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยเมื่อมีการใส่ปูนขาว โดยสามารถเพิ่มจำนวนหลุมเก็บเกี่ยว เปอร์เซ็นกะเทาะ น้ำหนัก 100 เมล็ด จึงทำให้ดัชนีเก็บเกี่ยวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยและใส่ยิบซัม การเพิ่มผลผลิตและให้ผลตอบแทนคุ้มค่า แต่การทดลองปี 2557 ให้ผลผลิตต่ำมาก เนื่องจากการปลูกล่าช้า เพราะแปลงที่ปลูกครั้งแรกถูกน้ำท่วม ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มฝักสมบูรณ์ได้มากกว่าเมื่อมีการใส่ปูนขาว


ไฟล์แนบ
.pdf   108_2557.pdf (ขนาด: 294.75 KB / ดาวน์โหลด: 1,308)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม