การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดเพื่อผลผลิตสูงในแต่ละพื้นที่-การเปรียบเทียบในท้องถิ่น
#1
การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดเพื่อผลผลิตสูงในแต่ละพื้นที่ - การเปรียบเทียบในท้องถิ่น
รัชนี โสภา, อ้อยทิน ผลพานิช,จิราลักษณ์ ภูมิไธสง และอานนท์ มลิพันธ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี

          การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นของถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงในแต่ละพื้นที่ปลูก ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2557 รวม 2 ปี 4 ฤดูปลูก โดยปลูกถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ก้าวหน้าจำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ MJ9897-2 MJ9749-46 MJ9751-33 MJ9751-29 MJ9830-6 และ MJ97113-4 และพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ AGS 292 และ เชียงใหม่ 84-2 รวม 8 สายพันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบแหล่งปลูกละ 7 สายพันธุ์/พันธุ์ โดยในเขตภาคเหนือไม่ใช้สายพันธุ์ MJ97113-4 และเขตภาคกลางใช้สายพันธุ์ MJ97113-4 แทนสายพันธุ์ MJ9830-6 ปลูกเปรียบเทียบทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน รวมจำนวน 12 แปลงปลูกต่อปี ดำเนินการทดลองที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 2 แปลง ไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ 2 แปลง ไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงราย 3 แปลง ไร่เกษตรกรจังหวัดลำปาง 2 แปลง ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท 1 แปลง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี 2 แปลง เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดในระยะที่มีฝักโต เต่งเต็มฝัก (ระยะ R6) บันทึกข้อมูลผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต วิเคราะห์ผลทางสถิติและคัดเลือกสายพันธุ์ดี โดยพิจารณาจากผลผลิตฝักสดมาตรฐาน น้ำหนัก 100 เมล็ดสด ขนาดฝักที่ได้มาตรฐานต่อ 1 กิโลกรัม สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ดีได้จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ MJ9749-46, MJ9751-33 และ MJ9897-2 ซึ่งให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐานเฉลี่ย 731 726 และ 714 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ น้ำหนัก 100 เมล็ดสดเฉลี่ย 59.98 64.65 และ 62.69 กรัม ตามลำดับ จำนวนฝักที่ได้มาตรฐานต่อ 1 กิโลกรัมเฉลี่ย 351 316 และ 322 ฝัก ตามลำดับ และจะได้นำเข้าเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกรในปี 2558 ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   84_2557.pdf (ขนาด: 456.66 KB / ดาวน์โหลด: 652)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม