มาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้าสินค้าเกษตร
#1
มาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้าสินค้าเกษตร
ณัฏฐพร อุทัยมงคล

          โครงการวิจัยมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตร ดำเนินการที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 - กันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการทางวิชาการด้านสุขอนามัยพืชในจัดการความเสี่ยงของศัตรูพืชที่มีโอกาสติดเข้ามาจากการนำเข้าสินค้าเกษตร และศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชที่บังคับใช้กับการนำเข้าสินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการทางสุขอนามัยกับสินค้าเกษตรอื่นๆ ดำเนินการศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม คือ 1) ศึกษาการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืช และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับสินค้าเกษตรที่นำเข้า

          ผลการศึกษาของกิจกรรมที่ 1 การกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์พริกจากออสเตรเลีย เมล็ดพันธุ์พริกและมะเขือเทศจากสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมล็ดพันธุ์ส้มจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมล็ดพันธุ์แคนตาลูปจากญี่ปุุน ผลพลับสด ผลแอปเลสด และผลมะเขือเทศสดจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงผลพีชสดจากสหรัฐอเมริกา ได้ดังนี้ (1) ข้อมูลมาตรการสุขอนามัยพืชที่มีการกำหนดในต่างประเทศ (2) ข้อมูลทั่วไปของพืชและศัตรูพืช (3) ชนิดของศัตรูพืชทีมีโอกาสเข้ามา ตั้งรกรากอย่างถาวร และแพร่กระจายในประเทศไทยตลอดจนส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการเข้ามาของศัตรูพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม (4) แนวทางการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืชที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับศัตรูพืชแต่ละชนิดสำหรับการนำเข้าพืช/ผลิตผลพืช จากแหล่งที่กำหนด ในส่วนของกิจกรรมที่ 2 นั้น ผลการศึกษาประสิทธิภาพมาตรการสุขอนามัยพืชกับผลองุ่นสดและผลส้มสดนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ผลส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และผลองุ่นสดจากประเทศเปรู ได้ข้อมูลการนำเข้า ผลการตรวจสอบศัตรูพืชที่ติดมากับพืชนำเข้า ณ ด่านตรวจพืช เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการสุขอนามัยพืชที่กำหนดไว้ ผลการตรวจสอบพบว่า ผลองุ่นสดที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ไม่พบศัตรูพืชกักกันที่มีชีวิตติดมากับผลองุ่นสด เช่นเดียวกับผลองุ่นสดที่นำเข้าจากประเทศเปรู ซึ่งมีการกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็น โดยไม่มีการตรวจพบแมลงวันผลไม้ A. fraterculus และ C. capitata ติดเข้ามากับผลองุ่นสดที่นำเข้ามา ส่วนผลส้มสดที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ตรวจพบพบไข่และหนอนมีชีวิตของ Naupactus godmani จึงมีการทบทวนเงื่อนไขการนำเข้าผลส้มสดจากเครือรัฐออสเตรเลียเพื่อการค้าให้รัดกุมยิ่งขึ้น และผลส้มสดที่นำเข้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ การสุ่มตรวจส้มนำเข้าที่ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง พบว่ามีเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และไรติดมากับผลส้มนำเข้า แสดงให้เห็นว่ามาตรการสุขอนามัยพืชที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชกักกันเข้ามาในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตามควรมีการเฝูาระวังโดยการตรวจนำเข้าอย่างเข้มงวดและบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานเนื่องจากพืชบางชนิดมีการตรวจพบเมล็ดวัชพืชและแมลงมีชีวิตแม้ว่าจะไม่ใช่ศัตรูพืชกักกัน หากพบว่าในการนำเข้ามีการติดมาของศัตรูพืชเหล่านี้ ควรมีการทบทวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชที่เกี่ยวข้องกับวัชพืชที่มีโอกาสติดเข้ามาในประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   168_2558.pdf (ขนาด: 2.14 MB / ดาวน์โหลด: 1,974)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม