อนุกรมวิธาน ชีววิทยา และเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ
#1
อนุกรมวิธาน ชีววิทยา และเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พรพิมล อธิปัญญาคม, สุนัดดา เชาวลิต, จารุวัตถ์ แต้กุล, ยุวรินทร์ บุญทบ, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ, สัญญาณี ศรีคชา, ธีราทัย บุญญะประภา, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง, วิมลวรรณ โชติวงศ์, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง, วิชาญ วรรธนะไกวัล, อภินันท์ เอี่ยมสุวรรณสุข, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, ชนินทร ดวงสะอาด, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ วัฒนวิภาส, รุํงนภา คงสุวรรณ, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, ไตรเดช ข่ายทอง, ฐิติยา สารพัฒน์, เยาวภา ตันติวานิช, สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, กาญจนา วาระวิชะนี, ปริเชษฐ์ ตั้งกาจนภาสน์, อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, แสนชัย คำหล้า, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, เพ็ญศรี นันทสมสราญ, เสริมศิริ คงแสงดาว, ศิริพร ซึงสนธิพร, จรัญญา ปิ่นสุภา, ธัญชนก จงรักไทย, สิริชัย สาธุวิจารณ์, ภัทรพิชชา รุจิรพงศ์ชัย และชํอทิพย์ ศัลยพงษ์

          โครงการวิจัยอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ เป็นงานวิจัยพื้นฐานทางด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ และศึกษาพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ ดำเนินการระหวำงปี พ.ศ.2554 – 2558 ผลการดำเนินการได้ทราบชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ลักษณะความแตกต่าง พืชอาศัย เขตการแพร่กระจายของแมลง ไร สัตว์ ศัตรูพืช และศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยอ่อนในวงศ์ย่อย Hormaphidinae จำนวน 4 สกุล เพลี้ยอ่อนเผ่า Macrosiphini จำนวน 6 ชนิด เพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus 2 ชนิด เพลี้ยหอยสกุล Pulvinaria 1 ชนิด แมลงหวี่ขาววงศ์ย่อย Aleurodicinae 3 สกุล เพลี้ยไฟวงศ์ย่อย Panchaetothripinae 3 ชนิด ผีเสื้อกลางคืนวงศ์ย่อย Pyraustinae 5 ชนิด ตัวอ่อนแมลงวันทองสกุล Bactrocera ทำสไลด์ถาวร 2 ชนิด มดที่อยู่ร่วมกับเพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus จัดรูปร่าง ทำสไลด์ถาวรตัวอย่างมด 7 ชนิด เพลี้ยแป้ง 2 ชนิด ได้ข้อมูลชีววิทยาของแมลงวันทองชนิด B. cucurbitae ได้ข้อมูลชีววิทยาเพลี้ยแป้ง Pseudococcus jackbeardsleyi แมงมุมสกุล Argiope จำนวน 4 ชนิด แมงมุมวงศ์ Tetragnathidae จำนวน 4 ชนิด, จำแนกชนิดของหอยเจดีย์ใหญ่ หอยเจดีย์เล็ก หอยทากดักดาน หอยทาก และทากในโรงเรือน จำนวน 6 ชนิด เพลี้ยหอยสกุล Coccus จำนวน 2 ชนิด, แมลงหวี่ขาวในวงศ์ย่อย Aleyrodinae จำนวน 9 ชนิด, เพลี้ยไฟในสกุล Haplothrips จำนวน 3 ชนิด, มวนปีกแก้วในสกุล Stephanitis จำนวน 2 ชนิด, ผีเสื้อกลางคืนในสกุล Parapoynx จำนวน 3 ชนิด , แตนเบียนไข่วงศ์ใหญ่ Platygastroidea ที่เข้าทำลายหนอนกอข้าว มวนเขียวข้าว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จำนวน 4 วงศ์ย่อย 9 สกุล, สัณฐานวิทยาและลำดับพันธุกรรมของเพลี้ยไฟดอกไม้ Frankliniella schultzei, ไรสี่ขาวงศ์ Eriophyidae จำนวน 12 ชนิด, ชีววิทยา การเข้าทำลาย ฤดูกาลระบาดของแมลงวันทองชนิด Bactrocera tau, ลักษณะโครโมโซมและเขตการกระจายของหอยสกุล Pomacea sp, ด้วงงวงสกุล Rhynchophorus จำนวน 2 ชนิด, ลักษณะ สัณฐานวิทยา และลำดับพันธุกรรมของเพลี้ยไฟสกุล Thrips และ Bathrips, แมงมุมวงศ์ Clubionidae จำนวน 2 สกุล 4 ชนิด, ชีววิทยาของเพลี้ยแป้ง Phenacoccus solenopsis ชีววิทยาและเขตการแพร่กระจายของไรแมงมุมคันซาวา Tetranychus kanzawai 40 ชีววิทยา นิเวศวิทยาของเพลี้ยไก่แจ้ส้มวงศ์ Psyllidae ในพืชตระกูลส้ม ชนิดของมดในแหล่งผลิตและโรคคัดบรรจุจำนวน 6 วงศ์ย่อย 16 สกุล 19 ชนิด ชีววิทยา นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายของหอยศัตรูพืชสกุล Bradybeana ประชากรนกแสกตามแหล่งอาศัย ชนิดและจำนวนสัตว์ศัตรูธรรมชาติของสัตว์ฟันแทะในพื้นที่เพาะปลูกพืชในพื้นที่สูง ลักษณะภายนอกของหนูนาใหญ่ ชนิดของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงสกุล Steinernema และ Heterorhabditis พันธุกรรมของหนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) ที่พบในประเทศไทย การจำแนกสายพันธุ์และวิวัฒนาการทางพันธุกรรมของปรสิตโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ระยะสปอร์โรซิส โดยใช้ multiplex PCR

          อนุกรมวิธาน ชีววิทยา นิเวศวิทยา ของจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช ผลการทดลองได้ชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และชีววิทยาของเชื้อสาเหตุโรคพืช ได้แก่ ได้รา Cladosporium 4 ชนิด รา Alternaria ได้ 5 ชนิด รา Stemphylium 1 ชนิด รา Choanephora 1 ชนิดพร้อมลักษณะทางสัณฐานเป็นรา Choanephora cucurbitarum ราในกลุ่มของ Botryosphaeria จำนวน 5 สกุล 5 ชนิด ได้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพืชอาศัยของรา P. capsici ได้ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae ชนิดและเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของ Race แบคทีเรีย Rasonia solanacearum คือ race 1 ไส้เดือนฝอย migratory endoparasitic พร้อมทั้งชีววิทยาจำนวน 3 ชนิด ไส้เดือนฝอย Radopholus พร้อมทั้งชีววิทยา จำนวน 1 ชนิด รา Colletotrichum พร้อมลักษณะทางพันธุกรรม ชีววิทยา และนิเวศวิทยา จำนวน 9 ชนิด จำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบไหม้และใบจุดของกล้วยไม้สกุลมอคคาร่าและแวนด้า มีความใกล้เคียงกับเชื้อแบคทีเรีย Pantoea ananatis การถ่ายทอดเชื้อ Exserohilum tuecicum ไม่พบการถ่ายทอดเชื้อบนเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ราสกุล Phyllosticta พร้อมลักษณะทางพันธุกรรม ชีววิทยา และนิเวศวิทยา จำนวน 4 ชนิด จำแนกกลุ่ม Race ของเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici ในประเทศไทย คือ Race 2 ศึกษาพืชอาศัยของรา Stemphylium และ Alternaria พบพืชอาศัยของ รา Stemphylium vesicarium ได้แก่ หอมกระเทียม พืชอาศัยของรา Alternaria porri ได้แก่ หอมแดง หอมใหญ่ รา A. brassicicola ได้แก่ คะน้า รา A. helianthi ได้แก่ ทานตะวัน

          อนุกรมวิธาน ชีววิทยา นิเวศวิทยาของวัชพืชได้ชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และชีววิทยาของวัชพืช ได้แก่ จำแนกพืชสกุลผักแว่น ได้ 4 ชนิด ได้ลักษณะการงอกและการเจริญของหญ้าอีหนาวในสภาพเรือนทดลอง และความสามารถในการผลิตเมล็ดของหญ้าอีหนาว รายละเอียดลักษณะเมล็ดวัชพืชวงศ์ผักโขม 10 ชนิด รายละเอียดลักษณะวัชพืชสกุลน้ำนมราชสีห์และลักษณะของเมล็ด จำนวน 4 ชนิด ศึกษาวัชพืชในแปลงหม่อน บัวบก และพริกไทย พบวัชพืชจำนวน 18 ชนิด สำรวจวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้ง 3 สกุล พบ 6 ชนิด ศึกษาความสามารถในการงอกของเมล็ดดาดตะกั่ว พบเมล็ดดาดตะกั่วเมื่อตกลงดิน จะงอกได้ดี ตั้งแต่ผิวดินถึง 2 เซนติเมตร เมล็ดจะงอกเร็วและมีจำนวนต้นมากที่สุด ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังปลูก พบว่าเมล็ดดาดตะกั่วสามารถแพร่กระจายได้โดยดีดออกจากต้นตกลงบนที่แห้งเช่นบนวัสดุปลูกหรือบนผิวดิน สำรวจการแพร่กระจายของสาบม่วงพบการแพร่กระจายในแปลงมันสำปะหลัง ยาพารา และแปลงไม้ผล โดยพบแพร่กระจายค่อนข้างหนาแน่น คิดเป็นร้อยละ 52.9 ผลการศึกษาสัณฐานวิทยา ชนิด การแพร่กระจายและตัวอย่างของเมล็ดวัชพืชวงศ์หญ้างวงช้าง Boraginaceae พบ 5 กลุ่ม จำนวน 4 ชนิด, ลูกใต้ใบ Phyllanthus L. พบจำนวน 8 ชนิด, วงศ์หญ้า Poaceae พบจำนวน 33 ชนิด, วัชพืชสกุล Boerhavia L. จำนวน 4 ชนิด ได้ข้อมูลชีววิทยาและการแพร่กระจายของวัชพืชสกุลกะเม็ง Eclipta L., ผักเบี้ยเล็ก (Portulaca quadrifida L.), วัชพืชสกุล Boerhavia L. วัชพืชวงศ์ทานตะวันสองชนิด: หญ้าหน้าแมว และทานตะวันหนูในประเทศไทยได้ชนิดวัชพืชต่างถิ่นในพื้นที่เกษตรที่สูงภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

          ศึกษาความหลากหลายชนิดของแมลงหายากและใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ได้ตัวอย่างแมลงหายากใกล้สูญพันธุ์ในเขตสงวนชีวมลฑลสะแกราช 3 ชนิด จำนวน 6 แมลงหายากใกล้สูญพันธุ์ในเขตภาคใต้ จำนวน 2 ชนิด 5 ตัวอย่าง ได้ตัวอย่างแมลงปอ 5 ชนิด จำนวน 270 ตัวอย่าง จำแนกตั๊กแตนหนวดสั้นวงศ์ Acrididae จำนวน 4 ชนิด 168 ตัวอย่าง ได้ตัวอย่างมด 31 ชนิด จำนวน 278 ตัวอย่าง ได้ตัวอย่างด้วงงวง 9 ชนิด จำนวน 86 ตัวอย่าง ได้ตัวอย่างหิ่งห้อย 7 ชนิด จำนวน 105 ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การวินิจฉัยและตรวจสอบศัตรูพืช ได้แก่ 1) การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบศัตรูพืชโดยเซรุ่มวิทยา ผลการทดลองได้ได้แอนติซีรั่มและโปรตีนจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ แอนติซีรัมของเชื้อไวรัส PMWaV-1 ไวรัส BYMV ไวรัส Citrus tristeza virus และโปรตีน Sec A ยีนของเชื้อไฟโตพลาสมา และชุดตรวจสอบสำเร็จรูป สำหรับตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรคพืชในภาคสนามจำนวน 7 ชุด ได้แก่ ได้ไวรัส Cucumber mosaic virus ไวรัส Sugarcane mosaic virus subgroup Maize dwarf mosic virus ไวรัสในกลุ่ม Tospovirus ไวรัส Bean yellow mosaic virus ไวรัส PVY PVX PVS ในมันฝรั่ง แบคทีเรีย Burkholderia gladioli และแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae ในกล้วยไม้ 2) การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบศัตรูพืชโดยอณูชีววิธี ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวินิจฉัยและการตรวจสอบอย่างรวดเร็วของโรคกรีนนิ่งและโรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม โรคเหี่ยวของสัปปะรด โรคใบขาวของอ้อย โรคเน่าของกล้วยไม้โรคไฟโตพลาสมาของมันสำปะหลัง โรคไวรัส Watermelon silver mottle virus ในแตง แบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae และ Xanthomonas oryzae pv. oryzicola สาเหตุโรคข้าวที่สำคัญ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในหัวพันธุ์ปทุมมาด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) เชื้อ Grapevine yellow speckle viroid (GYSVd) เชื้อสาเหตุโรคในองุ่น และเพลี้ยไฟฝ้าย Trips palmi Karny โดยเทคนิค Real-time PCR 3) การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบศัตรูธรรมชาติโดยอณูชีววิธี ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวินิจฉัยและการตรวจสอบอย่างรวดเร็วของฺสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis และเชื้อไวรัส Nucleopolyhedrovirus 4) การพัฒนาเทคนิคอย่างงำยและรวดเร็วในการแยกศัตรูพืชเพื่อการวินิจฉัย ได้ชุดตรวจสอบไส้เดือนฝอยภาคสนาม (Nema test kit) เพื่อในการตรวจแยกไส้เดือนฝอยที่เข้าทำลายราก ลำต้น ใบ และดอก


ไฟล์แนบ
.pdf   167_2558.pdf (ขนาด: 2.45 MB / ดาวน์โหลด: 3,093)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม