โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ
อรณิชชา สุวรรณโฉม, อารีรัตน์ พระเพชร, วิภาวรรณ ดวนมีสุข, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ

          วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตใบตองกล้วยตานีเชิงพาณิชย์ที่ได้ประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพ และผลตอบแทนสูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยตานีในจังหวัดสุโขทัย ด้วยการการศึกษาการไว้หน่อที่เหมาะสม วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี คือ การไว้หน่อ ดังนี้ 1) ไว้หน่อจำนวน 4 หน่อ 2) ไว้หน่อจำนวน 5 หน่อ 3) ไว้หน่อจำนวน 6 หน่อ 4) ไว้หน่อจำนวน 7 หน่อ 5) ไว้หน่อจำนวน 8 หน่อ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ระยะเวลาดำเนินการปี 2555 – 2558 ผลจากการศึกษาพบว่า ผลตอบแทนที่ประเมินจากน้ำหนักใบตองต่อพื้นที่ พบว่าการไว้หน่อจำนวน 8 หน่อ ได้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงสุด 10,088 บาทต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ การไว้หน่อ 7 5 6 และ 4 หน่อ ได้ผลตอบแทน 9,268 9,140 8,221 และ 7,309 ใบ ตามลำดับ ค่า BCR ของการไว้หน่อแต่ละกรรมวิธีมากกว่า 2 หมายถึง ทุกกรรมวิธีที่ดำเนินการนั้นมีกำไร มีความเสี่ยงน้อย สามารถทำการผลิตได้ การศึกษาการจัดการปุ๋ยและการให้น้ำที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยตานีในเชิงพาณิชย์ วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ main plot เป็นการให้น้ำ 3 ระดับ คือ 1) ไม่ให้น้ำ 2) ให้มีปริมาณน้ำในดิน 50% ของ AWC 3) ให้มีปริมาณน้ำในดิน 100% ของ AWC sub plot คือ วิธีการใส่ปุ๋ย ดังนี้ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่มูลวัว อัตรา 5 กก./ต้น จำนวน 2 ครั้ง 3) ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 70 กรัม/ต้น จำนวน 2 ครั้ง 4) ใส่มูลวัว อัตรา 5 กก./ต้น/ครั้ง และ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 70 กรัม/ต้น/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง กล้วยตานีที่ใส่มูลวัวอัตรา 1,065 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ และให้น้ำ 100% AWC ได้ผลผลิตใบตองสูงสุด 1,826 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้สูงสุด 9,131 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ที่มีการให้น้ำ 50% AWC ทำให้ได้รายได้สุทธิสูงที่สุด โดยมีรายได้สุทธิ 4,528 กิโลกรัมต่อไร่


ไฟล์แนบ
.pdf   145_2558.pdf (ขนาด: 834.73 KB / ดาวน์โหลด: 7,422)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม