11-28-2016, 02:24 PM
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ
สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อารีรัตน์ พระเพชร, อรณิชชา สุวรรณโฉม, วิภาวรรณ ดวนมีสุข และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อารีรัตน์ พระเพชร, อรณิชชา สุวรรณโฉม, วิภาวรรณ ดวนมีสุข และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย, ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตละมุดเพื่อพัฒนาให้ได้ละมุดคุณภาพดีตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์ดีในแหล่งปลูกจังหวัดสุโขทัยและพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การตัดแต่งทรงพุ่มที่เหมาะสม การจัดการปุ๋ยและการจัดการน้ำที่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตและเพิ่มมูลค่าของละมุด จากการทดสอบพบว่า การรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์ละมุดจากแหล่งปลูกที่สำคัญได้จำนวน 11 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์นมแพะ พันธุ์กำนัน พันธุ์มะกอก พันธุ์ดำเนิน พันธุ์ปราจีน พันธุ์สาลี่เวียดนาม พันธุ์กระสวยมาเล พันธุ์สีดา พันธุ์ทช01 พันธุ์CM19 และพันธุ์ตาขวัญ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์ผลเล็ก ได้แก่ พันธุ์มะกอก พันธุ์ปราจีน พันธุ์สีดา พันธุ์ผลขนาดกลาง ได้แก่ พันธุ์กระสวยมาเล พันธุ์ดำเนิน พันธุ์นมแพะ และกลุ่มผลใหญ่ ได้แก่ พันธุ์กำนัน พันธุ์ทช01 พันธุ์CM19 พันธุ์ตาขวัญ การตัดแต่งทรงพุ่มละมุดทุกกรรมวิธีให้ผลผลิตที่มีผลขนาดใหญ่มากกว่าการไม่ตัดแต่งทรงพุ่มเลย วิธีการตัดแต่งแบบเปิดแกนกลางและการตัดแต่งแบบครึ่งวงกลม ทำให้ได้ผลผลิตละมุดมีขนาดผลโตขึ้นมากว่าการตัดแต่งทรงพุ่มแบบทรงเหลี่ยม และแบบฝาชีหงาย การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมทดลองในละมุดพันธุ์มะกอกที่ปลูกจากกิ่งตอนพบว่า การใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 6-2-3 กิโลกรัม N-P2-K2O5 ต่อต้นต่อปี ในต้นที่มีอายุ 1 - 2 ปี มีผลทำให้ละมุดมีการเจริญเติบโตที่ดีและมีขนาดทรงพุ่มเพิ่มเร็วขึ้น ให้ผลผลิตมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีที่อัตราต่ำกว่านี้ ให้ผลผลิตได้ในปีที่ 2 สำหรับการจัดการน้ำพบว่า การให้น้ำในละมุดตั้งแต่เริ่มปลูกทำให้ละมุดมีการเจริญเติบโตได้ดีและละมุดมีการแตกตาดอกและตาใบมากขึ้น