การศึกษาการผลิตปัญจขันธ์ที่มีคุณภาพ
#1
การศึกษาการผลิตปัญจขันธ์ที่มีคุณภาพ
ศศิธร วรปิติรังสี, จรัญ ดิษฐไชยวงค์, วิชญา ศรีสุข, วีระ วรปิติรังสี, อรุณี ใจเถิง, วิมล แก้วสีดา, ประนอม ใจอ้าย, ยุภาพร พาพันธ์, ศิรากานต์ ขยันการ, สุธามาศ ณ น่าน, ทัศนีย์ ดวงแย้ม, วัชรพล บำเพ็ญอยู่, ปฏิพัทธ์ ใจปิน, ณิชกานต์ นเรวุฒิกุล, สนอง จรินทร, พรอนันต์ แข็งขันธ์, อาทิตยา พงษ์ชัยสิทธิ์, สิริพร มะเจี่ยว, มัลลิกา รักษ์ธรรม, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, ศรีสุดา โท้ทอง, ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์, จำรอง ดาวเรือง และพุฒนา รุ่งระวี
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, สถาบันวิจัยพืชสวน และกองแผนงานและวิชาการ

          ปัญจขันธ์ (Gynostemma pentaphyllum Thunb. Makino) เป็นสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ได้แก่ ใช้เป็นยา เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ชาสมุนไพร เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แต่เกษตรกรขาดพันธุ์ดีและเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน จึงได้ทำการศึกษาวิจัยปัญจขันธ์แบบครบวงจร ระยะเวลาการดำเนินการปี 2554 – 2558 มีผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านพันธุ์ ได้ทำการทดสอบปัญจขันธ์ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์อ่างขาง พันธุ์สิบสองปันนา และพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยพืชสวนเลย พบว่า พันธุ์อ่างขาง พันธุ์สิบสองปันนาให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง แต่พันธุ์พื้นเมืองสันกำแพงมีปริมาณสารซาโปนินสูง 2) ด้านการขยายพันธุ์พบว่า การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดที่เก็บเกี่ยวเมล็ดอายุ 81 - 85 วันหลังดอกบาน (ผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีดำ) แล้วนำเมล็ดแช่น้ำนาน 48 ชั่วโมง เมื่อนำไปเพาะมีความงอกสูง 94% วิธี ดังกล่าวสะดวกและประหยัดต้นทุนมากกว่าการใช้กิ่งปักชำ 3) ด้านวิธีการปลูกพบว่า การปลูกแบบขึ้นค้างไม้ไผ่ทรงตั้งฉากกับพื้นดินสูง 1.5 ม. ให้ผลผลิตสูงสุด และ 4) ด้านปริมาณธาตุอาหารและองค์ประกอบต่างๆ พบว่า ใบปัญจขันธ์สดมีปริมาณธาตุอาหาร ปริมาณฟีนอลทั้งหมด ดัชนีแอนตี้ออกซิแดนซ์ คลอโรฟิลล์ และวิตามินซีสูง สามารถใช้บริโภคสดได้อีกรูปแบบหนึ่ง ผลจากการดำเนินงานสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปัญจขันธ์แบบครบวงจรสู่เกษตรกร เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มทั้งผลผลิตและคุณภาพผลผลิต ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมีรายได้สูงขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   103_2558.pdf (ขนาด: 1.28 MB / ดาวน์โหลด: 1,040)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม