โครงการวิจัยแก้ไขปัญหาการผลิตกล้วยไม้การค้าสกุลอื่นๆ
#1
โครงการวิจัยแก้ไขปัญหาการผลิตกล้วยไม้การค้าสกุลอื่นๆ
ศรีสุดา โท้ทอง, สุนิตรา คามีศักดิ์, จงวัฒนา พุ่มหิรัญ, วิภาดา ทองทักษิณ, นันทรัตน์ ศุภกำเนิด, ลัคนา เขตสมุทร, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ดารุณี ปุญุญญพิทักษ์, ทัศนาพร ทัศคร, วัชรี วิทยวรรณกุล, ทิพวรรณ กัณหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และสุพัตรา อินทรวิมลศรี
สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          กล้วยไม้สกุลออนซิเดียมเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น สารละลายปุ๋ยที่ระดับ 200 ppm เหมาะสมสำหรับให้ปุ๋ยทางราก และค่ามาตรฐานของธาตุอาหารในใบกล้วยไม้ พันธุ์โกลเด็นชาวเวอร์จากต้นที่เจริญเติบโต 90% เท่ากับ N 1.64 - 2.59%, P 0.18 - 0.28%, K 2.48 - 3.53%, Ca 0.53 - 1.02%, Mg 0.45 - 0.71%, Fe 102 - 243 ppm, Mn 163 - 298 ppm, Cu 1.76 - 9.24 ppm, B 16 - 23 ppm, Zn 11.5 - 44.3 ppm ค่ามาตรฐานนี้จะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการธาตุอาหาร/ปุ๋ย โดยแนะนำให้เกษตรกรสุ่มเก็บใบ ส่งวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบสถานะของธาตุอาหารในพืช ถ้ามีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ให้เกษตรกรต้องเพิ่มอัตราปุ๋ยที่ใช้ อีกทั้งแนะนำการใช้ปุ๋ยโดยให้เกษตรกรผสมปุ๋ยใช้เอง สัดส่วน 4:2:5 หรือสูตร 20-10-25 นอกจากนี้มีปัญหาจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย คือ Pectobacterium carotovorum (Erwinia carotovora) ทำให้เกิดโรคเน่าเละ และ Acidovorax avenae subsp. Cattleyae ทำให้เกิดโรคใบจุด การป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากแบคทีเรียทำได้ยาก แต่สภาพที่มีโรคแบคทีเรียระบาดต่ำ ควรใช้ปูนขาว อัตรา 1 กก. ต่อ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง และนำสารละลายนั้นมาผสมกับน้ำในอัตรา 1: 1 หรือใช้สารแคลเซียมไฮโปคลอไรด์ อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 5 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นจะเป็นการป้องกันโรคแบคทีเรียได้วิธีการหนึ่ง รวมทั้งเก็บเศษพืชที่เป็นโรคออกจากแปลง ทำลายทันที การทำความสะอาดแปลงปลูกพืช การจัดการน้ำที่สะอาด การตรวจนับโรคอยู่เสมอ ส่วนสารกำจัดแบคทีเรียใช้เพื่อป้องกัน (Prevent) เท่านั้น

          กล้วยไม้สกุลมอคคารา มีปัญหาจากเชื้อแบคทีเรีย Pantoae sp. เข้าทำลายและเป็นสาเหตุโรคกลีบดอกไหม้ สารป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8% WP และ copper hydroxide 77%WP มีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาเป็น cuprous oxide 50%WP, thiram 80%WP และbacbicure 25%WP รวมทั้งใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท B5 หรือใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์พ่นสลับกับสารเคมี copper hydroxide 77%WP

          กล้วยไม้สกุลสปาโทกลอสทิส มีโรคใบไหม้ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุ Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลาย สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรค ได้แก่ azoxystrobin + difenoconazole 32.5%SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร, carbendazim 50%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร, prochloraz 50%WP อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ propiconazole + procholraz 40+9%EC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร สำหรับโรคเน่าแห้งหรือราเม็ดผักกาดที่มีสาเหตุจากเชื้อรา S. rolfsii ควรใช้สารเคมี etridiazole 35% WP อัตรา 28.5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, iprodione 50%WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ metalaxyl 25%WP อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาใช้พ่นสลับกับสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อรา S. rolfsii ควรเลือกใช้สาร Metalaxyl 25%WP เพราะมีผลกระทบต่อการเจริญของเชื้อราปฏิปักษ์ T. harzianum น้อยกว่าสาร etridiazole และ iprodione ส่วนกล้วยไม้สกุลแกรมมะโตฟิลลัม (Grammatophyllum) พบโรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum และโรคเน่าแห้งที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Sclerotium rolfsii เข้าทำลาย


ไฟล์แนบ
.pdf   96_2558.pdf (ขนาด: 4.37 MB / ดาวน์โหลด: 2,737)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม