พัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่
#1
พัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิรากานต์ ขยันการ, อรุณี ใจเถิง, นฤนาท ชัยรังษี, จารุฉัตร เขนยทิพย์, ชัยกฤติ พรหมา และสุมิตร วิลัยพร

          การรวบรวม จำแนก ประเมินคุณค่า และพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย (ศวส.เชียงราย) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ (ศวพ. เชียงใหม่) ระหว่างปี 2554 - 2558 ซึ่งที่ ศวส. เชียงรายรวบรวมพันธุ์ลิ้นจี่ได้ 50 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 8 ไร่ และ ศวพ.เชียงใหม่ได้ 34 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 5 ไร่ ผลการทดลองพบว่า ใบ ดอก ผล และเมล็ดแตกต่างกันตามพันธุ์ ลักษณะที่ใช้จำแนกพันธุ์ได้ คือ รูปร่างผล เปลือกผล สีเนื้อ และช่วงการออกดอก ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์ภาคกลาง เช่น ค่อม ช่อระก าและกะโหลกใบขิงซึ่งออกดอกติดผลเร็ว เปลือกผลมีหนามแหลมถี่และเปลือกสีแดงคล้ำ ส่วนกลุ่มพันธุ์ภาคเหนือเช่น ฮงฮวยและโอเฮียะออกดอกติดผลช้ากว่า เปลือกผลมีหนามสั้นห่าง และเปลือกสีแดงสด บางพันธุ์มีเมล็ดลีบได้แก่ พันธุ์กิมเจ็ง และ salathiel ได้ทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมลิ้นจี่จนครบทุกลักษณะแล้ว 31 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้เพิ่มเติมและพิมพ์เป็นเอกสารวิชาการพันธุ์ลิ้นจี่ทุกปี

          ปี 2554 - 2556 ได้คัดเลือกพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ออกดอกติดผลหรือเก็บเกี่ยวได้เร็วและคุณภาพดี ทำการผสมพันธุ์จำนวน 63 คู่ผสมแล้วปลูกต้นลูกผสมรวม 560 ต้น ในแปลงคัดเลือกลูกผสม พร้อมทั้งได้นำยอดลูกผสมบางส่วนไปเสียบยอดบนต้นพันธุ์ฮงฮวย 15 ต้น ที่ออกดอกติดผลแล้วที่ศวส.เชียงราย เพื่อชักนำให้ออกดอกติดผลเร็วขึ้น การศึกษาลักษณะลูกผสมจะดำเนินการในโครงการรวบรวม จำแนก ประเมินคุณค่า และพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่ระยะที่ 2 (2559 - 2564)


ไฟล์แนบ
.pdf   88_2558.pdf (ขนาด: 2.25 MB / ดาวน์โหลด: 5,546)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม